2. ฝ่ายอินโดนีเซียยินดีเพิ่มพื้นที่ทำการประมงให้แก่เรือประมงไทยที่สมัครใจในบริเวณทะเลอาราฟูร่า โดยจะต้องเป็นเรือสัญชาติไทย จากเดิมที่กำหนดให้เฉพาะทะเลจีนใต้เท่านั้น
Monday, February 19, 2007
ระเบียบการทำประมงในประเทศอินโดนีเซีย
2. ฝ่ายอินโดนีเซียยินดีเพิ่มพื้นที่ทำการประมงให้แก่เรือประมงไทยที่สมัครใจในบริเวณทะเลอาราฟูร่า โดยจะต้องเป็นเรือสัญชาติไทย จากเดิมที่กำหนดให้เฉพาะทะเลจีนใต้เท่านั้น
Friday, February 16, 2007
องค์การสะพานปลา ( Fish Marketing Organization )
• บริการเกี่ยวกับการขนส่งสัตว์น้ำไปสู่ตลาด (การขนส่ง)
• บริการเกี่ยวกับการเก็บสินค้าสัตว์น้ำที่สะพานปลา (ห้องเย็น)
• การจัดระบบเลหลังสินค้าสัตว์น้ำ (ตลาดกลางหรือสะพานปลา)
• จัดองค์การให้ชาวประมงกู้ยืมเงินทุนและออมสิน (สินเชื่อการเกษตร)
• บริการเกี่ยวกับการขายวัตถุดิบและอุปกรณ์การประมง (เครื่องมือและอุปกรณ์)
• บริการเกี่ยวกับการส่งเสริมการประมง แนะนำทางวิชาการและอื่นๆ ตลอดจนบริการเกี่ยวกับป่วยเจ็บ (วิชาการและสวัสดิการ)
หน่วยงานองค์การสะพานปลา
สะพานปลากรุงเทพ
http://www.fishmarket.co.th/web/bangkok.html
สะพานปลาสมุทรสาคร
http://www.fishmarket.co.th/web/sakorn.html
สะพานปลาสมุทรปราการ
http://www.fishmarket.co.th/web/pakarn.html
ท่าเทียบเรือสงขลา-1
http://www.fishmarket.co.th/web/skla.html
ท่าเทียบเรือสงขลา-2 (ท่าสะอ้าน)
http://www.fishmarket.co.th/web/tasaan.html
ท่าเทียบเรือระนอง
http://www.ranong.fishmarket.co.th/
ท่าเทียบเรือสุราษฎร์ธานี
http://www.fishmarket.co.th/web/surat.html
ท่าเทียบเรือประมงปัตตานี
http://www.fishmarket.co.th/web/pattanee.html
ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต
http://www.phuket.fishmarket.co.th/
ท่าเทียบเรือประมงหัวหิน
http://www.fishmarket.co.th/web/huahin.html
ท่าเทียบเรือประมงตราด
http://www.fishmarket.co.th/web/trad.html
ท่าเทียบเรือประมงสตูล
http://www.fishmarket.co.th/web/stoon.html
ท่าเทียบเรือประมงปราณบุรี
http://www.fishmarket.co.th/web/parn.html
ท่าเทียบเรือประมงชุมพร
http://www.fishmarket.co.th/web/chumporn.html
ท่าเทียบเรือประมงนครศรีธรรมราช
http://www.fishmarket.co.th/web/nkorn.html
ท่าเทียบเรือประมงหลังสวน
http://www.fishmarket.co.th/web/lungsuan.html
ท่าเทียบเรอประมงอ่างศิลา
http://www.fishmarket.co.th/web/sila.html
ท่าเทียบเรือประมงนราธิวาศ
http://www.fishmarket.co.th/web/nara.htm
Saturday, February 3, 2007
การพิจารณาความผิดด้านกฏหมายกับเรือประมงที่รุกล้ำน่านน้ำ
การพิจารณาความผิดด้านกฏหมายกับเรือประมงที่รุกล้ำน่านน้ำประเทศเพื่อนบ้าน
เนื้อหา. . .
กรณีที่เรือประมงไทย บางกลุ่มได้รุกล้ำ และลักลอบเข้าไปทำประมงในน่านน้ำประเทศเพื่อนบ้าน แล้วถูกเรือรบประเทศเพื่อนบ้านไล่จับกุม นั้น สำนักงานต่างประเทศ สำนักงานอัยการสูงสุด ได้ให้ข้อพิจารณาความผิดด้านกฎหมายประมง ว่าการกระทำดังกล่าว อาจเป็นความผิดตามกฎหมาย ดังนี้
Friday, February 2, 2007
เงื่อนไขสัมปทานการประมง
รายละเอียด และ เงื่อนไขสัมปทานการประมง
1. ประเภทเรือประมง
1.1 เรืออวนล้อมปลาโอ ความยาวระหว่าง 25-30 เมตร (ความสามารถการจับ 100,000 – 200,000 กก.ต่อเที่ยว) จำนวน 20 ลำ
1.2 เรือประมงอื่น ๆ ได้แก่ เรือเบ็ด เรือปลาหมึก เบ็ดราวทูน่า จำนวน 30 ลำ
รวมเรือประมงในระยะแรก 50 ลำ
1.3 เรือประมงทุกลำต้องเป็นเรือจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย (เป็นเรือจดทะเบียนในเขตจังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ หรือเรือประมงจดทะเบียนจากที่อื่น แต่เข้ามาทำการประมงในเขตกลุ่มจังหวัดไม่น้อยกว่า
1 ปี )
2. พื้นที่การทำประมง รอบหมู่เกาะอันดามันนิโครบาร์ โดยกำหนดให้อยู่ในเขต 12 ไมล์จากชายฝั่ง
3. ระยะเวลาการทำสัมปทานการประมง 2 ปี
4. การตรวจสอบเรือประมง
4.1 จัดตั้งคณะกรรมการร่วมไทย – อินเดียในการตรวจสอบเรือ
4.2 สถานที่ตรวจสอบ (Check Point) ได้แก่ เมืองพอร์ตแบลร์ และจังหวัดภูเก็ต (ท่าเทียบเรือประมง
ภูเก็ต องค์การสะพานปลา)
4.3 หน่วยตรวจสอบเรือกำหนดให้มีเพียง 3 หน่วย
4.4 ระยะเวลาในการตรวจสอบต้องมีความรวดเร็ว และใช้เวลาที่สั้น
5. เรือประมงต้องแจ้งตำแหน่งเรือประมงที่ทำการประมงให้พอร์ตแบลร์ และจังหวัดภูเก็ตเป็นประจำทุกวัน
6. มีการอนุญาตให้นำสัตว์น้ำที่จับได้กลับประเทศไทย (จังหวัดภูเก็ต) และสามารถยินยอมให้มีการขนถ่ายสัตว์
น้ำกลางทะเลได้
7. อนุญาตให้มีการนำน้ำแข็ง หรือสิ่งของจำเป็น เช่น อาหารจากจังหวัดภูเก็ตเข้าไปได้
8. สัตว์น้ำที่นำออกให้มีการยกเว้นภาษีส่งออก
9. การกำหนดค่าใช้จ่ายสัมปทานการประมงต้องกำหนดค่าใช้จ่ายที่คงที่ และเป็นอัตราที่แน่นอน
10. ในเบื้องต้นขออนุญาตทำเรือประมงที่มีระบบห้องเย็นแช่แข็งในเรือเข้าไปรอรับ และขนส่งสัตว์น้ำได้ ส่วน
ตำแหน่งที่จอดเรือให้อยู่ที่พอร์ตแบลร์ หรือฝ่ายอินเดีย-ไทยจะตกลงกัน
11. อนุญาตให้มีลูกเรือฝ่ายอินเดียลงไปทำการประมงกับเรือสัมปทานได้ลำละ 5 คน หรือตามที่ฝ่ายพอร์ตแบลร์
กำหนด
12. จัดตั้งคณะกรรมการประมงร่วมสองฝ่าย
13. เงื่อนไขอื่น ๆ
ที่มาจาก. . .
http://www.anuphas.co.th/phuket/Inter/portbraa/aspect_portbraa/fishery2.doc
Wednesday, January 24, 2007
การจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลในจังหวัดสงขลา เพื่อพัฒนาแหล่งทำการประมงในทะเลสาบสงขลา
การจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล เพื่อพัฒนาแหล่งพื้นที่ทำการประมง
ภาพแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำที่จัดสร้างขึ้นใหม่
อ่านต่อได้ที่นี่ . . .
http://thaidatanetwork.thaidatanetwork.net/~smdec/main/index2.php?option=content&task=view&id=35&pop=1&page=0
Saturday, January 6, 2007
การยื่นคำขอรับอาชญาบัตรทำการประมงนอกน่านน้ำไทย
อาศัยอำนาจตามความในประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง เงื่อนไขรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ.2490 ว่าด้วยการทำการประมงนอกน่านน้ำไทย ( ฉบับที่ 2 ) พ.ศ.2531 ประกอบกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2532 ข้อ 9 กรมประมงจึงออกระเบียบกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาปฏิบัติราชการสำหรับการขอรับอาชญาบัตรทำการประมงนอกน่านน้ำไทยไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า " ระเบียบกรมประมงว่าด้วยการยื่นคำขอรับอาชญาบัตรทำการประมงนอกน่านน้ำไทย พ.ศ.2532 "
ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2532 เป็นต้นไป
ข้อ 3 ให้ยกเลิกระเบียบกรมประมงว่าด้วยการขอรับอาชญาบัตรทำการประมงนอกน่านน้ำไทย พ.ศ.2531
ข้อ 4 อาชญาบัตรทำการประมงนอกน่านน้ำไทย หมายความว่า ใบอนุญาตซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ออกให้แก่ผู้รับอนุญาตเพื่อใช้เครื่องมือทำการประมงนอกน่านน้ำไทย ซึ่งอยู่ในบริเวณน่านน้ำตามข้อตกลงโดยชอบด้วยกฎหมาย ธรรมเนียมประเพณี สนธิสัญญา หรือโดยประการใด ระหว่างรัฐบาลหรือเอกชนไทย กับรัฐบาลหรือเอกชนของประเทศอื่น
ข้อ 5 ผู้ยื่นคำขอต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
( 1 ) ต้องมีสัญชาติไทยและมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย
( 2 ) ต้องเป็นเจ้าของเรือประมง และเรือประมงดังกล่าวต้องจดทะเบียนในประเทศไทย
ข้อ 6 ผู้ยื่นคำขอต้องแนบหลักฐาน ดังนี้
( 1 ) อาชญาบัตรฉบับหลังสุดสำหรับเครื่องมือนั้น ( ถ้ามี )
( 2 ) สำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนาบัตรประชาชน
( 3 ) สำเนาทะเบียนเรือไทย
( 4 ) ผู้ยื่นคำขอแทนเจ้าของเรือ จะต้องมีหนังสือมอบอำนาจ
( 5 ) ในกรณีที่เป็นนิติบุคคลต้องแนบสำเนาใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลและหลักฐานแสดงว่า มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการประมง สำหรับผู้ยื่นคำขอแทนนิติบุคคล จะต้องมีใบมอบอำนาจจากนิติบุคคลนั้น
( 6 ) หนังสือสัญญาหรือข้อตกลงให้ทำการประมงร่วมกับประเทศนั้น ๆ
( 7 ) ในกรณีเจ้าของเรือเข้าร่วมทำการประมงกับบุคคลหรือนิติบุคคลผู้ซึ่งได้รับสัมปทานทำการประมงร่วมกับประเทศนั้น ๆ จะต้องมีหนังสือรับรองจากบุคคลหรือนิติบุคคลผู้ได้รับสัมปทานเป็นหนังสือด้วย
( 8 ) ถ้าผู้ยื่นคำขอประสงค์จะให้บุคคลใดในครอบครัวหรือลูกจ้างมีสิทธิใช้เครื่องมือนั้นด้วยก็ให้ระบุไว้ในคำขอ
ข้อ 7 ให้ผู้ประสงค์จะขออาชญาบัตรเพื่อใช้เครื่องมือทำการประมงนอกน่านน้ำไทย ยื่นคำขอรับอาชญาบัตรต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ฝ่ายควบคุมการประมง กองคุ้มครองและส่งเสริมกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพ ฯ 10200
ข้อ 8 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รับคำขอและดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ดังนี้
( 1 ) รับคำขอ และลงทะเบียนรับ
( 2 ) ตรวจสอบคำขอและเอกสาร ถ้าไม่ถูกต้องตามระเบียบนี้ ให้คืนคำขอและเอกสารแล้วแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบ ภายใน 1 วัน เพื่อแก้ไขต่อไป
( 3 ) เมื่อเห็นว่าคำขอและเอกสารถูกต้องให้พนักงานเจ้าหน้าที่เขียนอาญาบัตรทำการประมงนอกน่านน้ำไทย ( แบบ 002 ) เสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น เพื่อให้อธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายแล้วแต่กรณี เป็นผู้ลงนามอนุญาต ให้แล้วเสร็จและมอบอาชญาบัตรให้แก่ผู้ยื่นคำขอโดยเร็ว แต่อย่างช้าไม่เกิน 5 วันทำการ
( 4 ) ในกรณีที่มีเหตุสงสัยจำเป็นจะต้องตรวจสอบเรือประมง และหรือเครื่องมือทำการประมงประกอบคำขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบเรือประมงและเครื่องมือให้แล้วเสร็จ นับแต่วันที่ได้ตกลงนัดตรวจแต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 10 วันทำการ หากตรวจสอบแล้วและเห็นสมควรอนุญาตให้ดำเนินการตาม ( 7 )
ข้อ 9 เมื่ออธิบดีหรือผู้ที่ที่อธิบดีมอบหมายลงนามในใบอาชญาบัตรแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บเงินอากรตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
ข้อ 10 ให้ผู้อำนวยการกองคุ้มครองและส่งเสริมเป็นผู้รักษาการ ตามระเบียบนี้
จังหวัดตรังมีการลักลอบหันมาใช่เครื่องมือผิดกฎหมาย
นายอดุลย์ จิวตั้น คณะกรรมการชมรมประมงพื้นบ้าน จ.ตรัง เปิดเผยว่า หลังจากชมรมประมงพื้นบ้าน 4 อําเภอ และ 1 กิ่งอําเภอ จ.ตรัง ร่วมกันรณรงค์ให้ผู้ทําธุรกิจประมงเลิกใช้เครื่องมือทําการประมงที่ผิดกฎหมาย อาทิ อวนลาก และอวนรุน ปรากฏว่าประสบความสําเร็จ แนวชายฝั่งทะเลตรังตลอด 119 กิโลเมตร ปลอดจากเครื่องมือประมงผิดกฎหมาย ทําให้ทะเลมีความสมบูรณ์ และสัตว์นํ้าเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ชาวประมงพื้นบ้านจับสัตว์นํ้าได้มาก และมีรายได้เพิ่มขึ้น แต่ล่าสุดพบว่ามีการลักลอบหันมาใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมายอีกโดยเฉพาะใน อ.กันตัง พบมากที่สุด
คณะกรรมการชมรมประมงพื้นบ้าน จ.ตรัง กล่าวต่อว่า ทั้งที่ทางประมงจังหวัด ตํารวจ และชมรมประมงพื้นบ้าน ร่วมกันตรวจตราป้องกันและปราบปรามการใช้เครื่องมือประมงที่ผิดกฎหมายมาอย่างต่อเนื่อง เมื่อจับกุมผู้กระทําผิดพร้อมยึดอุปกรณ์ แต่สุดท้ายเครื่องมือดังกล่าวก็ไม่ได้ถูกยึด ส่งผลให้ผู้กระทําความผิดนําอุปกรณ์มาใช้หากินกันต่อไป
อวนรุน
อวนลาก
อ่านเพิ่มเติ่มได้ที่นี่ . . .
http://gotoknow.org/blog/group806/15420
แหล่งทำการประมงเขตจังหวัดตรัง
แหล่งทำการประมง : บริเวณเกาะลิบง และ เกาะตาใบ
เครื่องมือที่ใช้จับ : เครื่องมืออวนลาก แผ่นตะเฆ่ ขนาดความยาว 14-18 เมตร OBT 2 ND (ทำการประมงทั้งกลางวันและกลางคืน)
อัตราการจับ : เฉลี่ย 76.5 กก./ชม.
องค์ประกอบ : สัตว์น้ำเศรษฐกิจ 60.8% และปลาเป็ด 39.2%(ข้อมูลจากเขตตรัง เดือนกันยายน 2549) สัตว์น้ำเศรษฐกิจ พบมาก คือ กลุ่มปลาหน้าดิน 50.3% ชนิดที่พบมาก คือ ปลาแพะ (Upeneus sulphureus) 16.1% กลุ่มสัตว์น้ำที่พบรองลงมาได้แก่ กลุ่มปลาผิวน้ำ และกลุ่มปลาหมึก เท่ากับ 7.3% และ 2.4% ตามลำดับ ปลาเป็ด พบปลาเป็ดที่เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจขนาดเล็ก 20.2% และปลาเป็ดแท้ 19.0% โดย สัตว์น้ำเศรษฐกิจขนาดเล็กที่พบมาก คือ ปลาแพะ (Upeneus sulphureus) เท่ากับ 6.3% และปลาเป็ดแท้ที่พบมาก คือ ปลาแป้น (Secutor insidiator) เท่ากับ 11.9%
ปลาแพะ
แหล่งทำการประมง : บริเวณเกาะโกย เกาะอาดัง และน่านน้ำประชิดไทย – มาเลเซีย
เรือที่ใช้จับ : เรืออวนล้อม จำนวนเรือ อวนล้อมซั้ง 12 ลำ อวนล้อมจับขนาดตา 1.5 ซม. 9 ลำ อวนดำ 4 ลำ อวนล้อมจับปั่นไฟ 3 ลำ และอวน ตังเก 1 ลำ
อัตราการจับ : จาก อวนล้อมซั้ง 2,987 กก./วัน อวนล้อมจับขนาดตา 1.5 ซม. 1,906 กก./วัน อวนล้อมจับปั่นไฟ 1,500 กก./วัน. อวนดำ 1,213 กก./วัน และ อวนตังเก 375 กก ./วัน
องค์ประกอบ : พบปลามากสุดมากที่สุด คือ ปลา ลัง เท่ากับ 30.9% รองลงมา คือ ปลาสลิดทะเลจุดขาว ปลาสีกุนบั้ง และ ปลา ทู เท่ากับ 14.9,7.1 และ 7.0%(ข้อมูลจากเขตจังหวัดตรัง เดือนกันยายน 2549) ตามลำดับ ปลาทูที่ ขึ้นท่าในเขตจังหวัดสตูล จากการประเมิน จาก อว นดำ เท่ากับ 113 ตัน (TL 11.1-18.0 ซม.) อวนล้อมซั้ง เท่ากับ 48 ตัน (TL 11.1-20.0ซม.) อวนล้อมจับปั่นไฟ เท่ากับ 32 ตัน (TL 12.1 - 17.0 ซม.) และ อวนล้อมจับขนาดตา 1.5 ซม.) เท่ากับ 5 ตัน (TL 11.1-17.0 ซม.) อวนเขียว
ที่มาจาก . . .
http://www.fisheries.go.th/MS-satun/rote.htm
แหล่งการทำประมงบริเวณเกาะในจังหวัด สตูล
เครื่องมือหรือเรือที่ใช้ : อวนลาก แผ่นตะเฆ่ ขนาดความยาว 14- 18 เมตร OBT 2 ND (ทำการประมงทั้งกลางวันและกลางคืน)
เรืออวนลาก
อัตราการจับ : เฉลี่ย 6.4 กก. /ชม.องค์ประกอบ สัตว์น้ำเศรษฐกิจ 91.2 % และปลาเป็ด 8.8 %(ข้อมูลจากเขตสตูล เดือน สิงหาคม 2549) สัตว์น้ำเศรษฐกิจ พบมากคือ กลุ่ม กุ้ง 81.0 % ชนิดที่พบมากคือ กุ้งโอคัก ( Metapenaeus lysianassa ) 69.9 % กลุ่มสัตว์น้ำที่พบรองลงมาได้แก่ กลุ่มปลาหมึก และกลุ่มปลาผิวน้ำ เท่ากับ5. 2% และ 2.5 % ตามลำดับ
ปลาเป็ด :ไม่ได้แยกองค์ประกอบชนิดเนื่องจากชาวประมงคัดทิ้งกลางทะเล
ปลาเป็ด
เกาะตารุเตา
แหล่งทำการประมง : บริเวณเกาะกลาง เกาะตะรุเตา
เครื่องมือหรือเรือที่ใช้ : อวนลากคู่ PTND และอวนรุน (Push Nets) (ทำการประมงทั้งกลางวันและกลางคืน)
เรืออวนรุน
อัตราการจับ : เฉลี่ย 233.4 กก. /ชม. องค์ประกอบ สัตว์น้ำเศรษฐกิจ 62.5 % และปลาเป็ด 37.5 % (ข้อมูลจากเขตสตูล เดือน สิงหาคม 2549)สัตว์น้ำเศรษฐกิจ พบมากคือ กลุ่มปลาผิวน้ำ 3 4.2 % ชนิดที่พบมาก คือ ปลาทูแขกครีบหูยาว 15.6 % กลุ่มสัตว์น้ำที่พบรองลงมาได้แก่ กลุ่มปลาหน้าดิน และกลุ่มหมึก เท่ากับ 21.0 % และ 6.2 % ตามลำดับ ปลาเป็ด พบปลาเป็ดที่เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจขนาดเล็ก 28.5 % และปลาเป็ดแท้ 9.0 % โดย สัตว์น้ำเศรษฐกิจขนาดเล็กที่พบมาก คือ ปลากะตัก เท่ากับ 8.6 % และปลาเป็ดแท้ที่พบมาก คือ ปลาแป้น ( Secutor ruconius ) เท่ากับ 4.4 %
ที่มาจาก . . .
แหล่งทำการประมงฝั่งอันดามัน
แหล่งประมงนอกน่านน้ำไทย แบ่งออกเป็น 5 เขต คือ
แหล่งทำการประมงในอ่าวไทย
- พื้นที่ชายฝั่งทะเลยาวทั้งหมด 1,875 กิโลเมตร
- ลักษณะสภาพของทะเลในอ่าวไทยมีลักษณะเป็นที่ลาด
- มีความลึกไม่มากนัก ประมาณ 70-85 เมตร
- สภาพพื้นท้องทะเลเป็นโคลน โคลนปนทราย ทรายปนโคลน และทราย
- เป็นอ่าวแบบกึ่งปิด
- แม่น้ำสำคัญหลายสายไหลลงสู่อ่าวไทย ดังนี้
• เจ้าพระยา ท่าจีน บางปะกง แม่กลอง (อ่าวไทยตอนบน)
• เวฬุ ระยอง (ฝั่งตะวันออกของอ่าวไทย)
• ตาปี (ฝั่งตะวันตกคอนใต้ของอ่าวไทย)-ลมมรสุม
• ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ –ตามเข็มนาฬิกา
• ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้-ทวนเข็มนาฬิกา
- แหล่งทำการประมงในอ่าวไทยตามการประกาศเขตเศรษฐกิจจำเพาะ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2524 ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 252,000 ตารางกิโลเมตร เขตเศรษฐกิจจำเพาะทางฝั่งอ่าวไทย แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ เขต EEZ ของไทย 252,000 ตร.กม. และเขตทับซ้อนต่างๆ ดังนี้
• ไทย-กัมพูชา 34000 ตร.กท.
• ไทย-กัมพูชา-เวียดนาม 14000 ตร.กม.
• ไทย-มาเลเซีย 4000 ตร.กม.
- เขตการประมงทางฝั่งอ่าวไทยแบ่งออกเป็น 5 เขต ดังนี้
• เขต 1 อ่าวไทยด้านตะวันออก ประกอบด้วยทะเลที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดตราด,จันทบุรีและระนอง
• เขต 2 อ่าวไทยตอนใน ประกอบด้วยทะเลที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และเพชรบุรี
• เขต 3 อ่าวไทยด้านตะวันตกตอนบน ประกอบด้วยทะเลที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ และสุราษฎร์ธานี
• เขต 4 อ่าวไทยด้านตะวันตกตอนล่าง ประกอบด้วยทะเลที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส
• เขต 5 อ่าวไทยตอนกลาง ประกอบด้วยทะเลที่อยู่บริเวณกลางอ่าวไทย มีอาณาเขตติดต่อกับเส้นแบ่งเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศมาเลเซีย เวียดนามและสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา ลักษณะพื้นท้องทะเลบริเวณชายฝั่งของเขต 1 เป็นทรายปนโคลนและเปลือกหอย บริเวณห่างฝั่งออกไปเป็นทรายปนเปลือกหอย เขต 2, 3 และ 5 ส่วนใหญ่เป็นโคลนเลน เขต 5 พื้นท้องทะเลมีลักษณะเป็นโคลนเหลว แต่ห่างจากฝั่งออกไปจะเป็นโคลนปนทรายกับทรายและเปลือกหอย พื้นท้องทะเลในเขต 1 และ 2 ราบเรียบเหมาะสำหรับการลากอวน บางส่วนของเขต 3, 4 และ 5 ไม่สามารถจะลากอวนได้โดยเฉพาะในเขต 5 ซึ่งอยู่กลางอ่าวและพื้นท้องทะเลส่วนใหญ่จะเป็นสันสูง 1-2 เมตร