ซินเจีย ยู่อี่ ซินนี้ ฮวดใช้ ขอให้ เฮง เฮง . . .

Wednesday, January 24, 2007

การจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลในจังหวัดสงขลา เพื่อพัฒนาแหล่งทำการประมงในทะเลสาบสงขลา

การจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลในจังหวัดสงขลา


ครั้งแรกเป็นงานทดลองของสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง โดยเลือกใช้วัสดุแท่งคอนกรีต ขนาด 0.8 x 0.8 x 0.8 ม.3 จัดวางบนพื้นทรายที่ระยะห่างฝั่ง 0.4 กิโลเมตร และ 3 กิโลเมตร ส่วนการจัดสร้างเพื่อใช้ประโยชน์โดยตรง เริ่มจัดสร้างภายใต้โครงการพัฒนาประมงทะเลชายฝั่งพื้นบ้านปี 2530 งบประมาณ 0.5 ล้านบาท ที่บ้านมาบบัว อำเภอระโนด จัดสร้างด้วยแท่งคอนกรีตแบบประกอบเข้าชุด ขนาด 0.8 x 1.0 x 1.0 ม.3 จำนวน 850 ชุด ในปีต่อมาจึงมีการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลขนาดใหญ่เป็นครั้งแรกในบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ด้วยเงินงบประมาณ 15 ล้านบาท จัดสร้างด้วยวัสดุทั้งขนาด 1.0 x 1.0 x 1.0 ม.3 และ 2.0 x 2.0 x 2.0 ม.3 การจัดสร้างในครั้งนั้นใช้เวลานานถึง 4 ปี การจัดสร้างเสร็จสิ้นสมบูรณ์ในปี พ.ศ.2534 หลังจากนั้นการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลว่างเว้นไปนานจนมีการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลขนาดเล็กอีกในปี พ.ศ. 2538 และ 2539 ด้วยงบประมาณแห่งละ 1.5 ล้านบาท จำนวน 5 แห่ง ในเขตอำเภอสทิงพระ
ปี พ.ศ. 2540 มีการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลภายใต้โครงการฟื้นฟูทะเลไทย ด้วยเงินงบประมาณแห่งละ 2 ล้านบาท ส่วนปี 2541 ได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้นเป็นแห่งละ 3 ล้านบาท การจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลภายใต้โครงการนี้ใช้วัสดุแท่งคอนกรีต ขนาด 1.5 x 1.5 x 1.5 ม.3 การจัดสร้างเริ่มจัดสร้างในบริเวณที่ไกลฝั่ง (6.5 กิโลเมตร) และน้ำลึกมากขึ้น (12-13เมตร)
การจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลขนาดใหญ่ครั้งที่ 2 ได้รับงบประมาณ 20 ล้านบาท ในปี 2542 ครอบคลุมพื้นที่ 51.6 ตารางกิโลเมตร บริเวณอำเภอระโนด สทิงพระ และ สิงหนคร การจัดสร้างห่างฝั่งมากขึ้นถึง 9 กิโลเมตร แต่ความลึกน้ำใกล้เคียงกับโครงการอื่นๆ ที่จัดสร้างมาแล้ว (6-12.5เมตร) ต่อมาในปี 2543 เป็นปีแรกที่มีการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลในเขต อำเภอเมือง และ อำเภอจะนะ ส่วนปี 2544 เป็นปีแรกที่มีการจัดสร้างในเขต อำเภอเทพา ด้วยงบประมาณแห่งละ 3 ล้านบาท จัดสร้างด้วยวัสดุแท่งคอนกรีตขนาด 1.5 x 1.5 x 1.5 ม.3 พื้นที่จัดสร้างแห่งละ 1 ตารางกิโลเมตร การจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลบริเวณจังหวัดสงขลาระหว่างปี 2526-2544 รวม 19 แห่ง เป็นเงินงบประมาณ 69.5 ล้านบาท




รูปการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล















ที่มาจาก. . .
ตารางพิกัดรายละเอียดของแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลในจังหวัดสงขลา. . .

การจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล เพื่อพัฒนาแหล่งพื้นที่ทำการประมง

การจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล เพื่อเพิ่มและพัฒนาแหล่งการทำประมง


เป็นการเพิ่มผลผลิตทางการประมงให้สูงขึ้น เพราะจะดึงดูดสัตว์น้ำให้เข้ามาอยู่อาศัยมากขึ้น ในไม่ช้าจะมีสัตว์น้ำหลากหลายชนิดเข้ามาหลบภัย อยู่อาศัย วางไข่ แพร่พันธุ์ ทำให้พื้นท้องทะเลที่ปราศจากแนวกองหินใต้น้ำ หรือแนวปะการังธรรมชาติ กลายเป็นแหล่งที่มีสัตว์น้ำชุกชุม เกิดเป็นระบบนิเวศที่ซับซ้อนและสมบูรณ์อย่างต่อเนื่อง เป็นประโยชน์ต่อชาวประมง และการออกแบบการจัดวางแท่งวัสดุเป็นแถว หรือเป็นกรอบล้อมรอบพื้นที่อนุรักษ์ยังสามารถเป็นแนวป้องกันการทำการประมงผิดกฎหมาย จากเครื่องมือประมงพาณิชย์ เช่น อวนลาก อวนรุนอย่างไรก็ตามในเขต 3,000 เมตร จากฝั่งได้




แหล่งอาศัยสัตว์ทะเล หรือแนวหินเทียม หรือปะการังเทียม คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นในรูปแบบต่างๆ อย่างมีแบบแผน เพื่อดัดแปลงสภาพพื้นท้องทะเลที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ โดยการจัดสร้างเลียนแบบบริเวณกองหินใต้น้ำ และซากเรืออับปาง เป็นต้น ด้วยการนำวัสดุที่แข็งแรง ทนทาน มีน้ำหนักมาก สามารถต้านทานกระแสน้ำได้ดี และราคาไม่แพง ไปวางรวมกลุ่มกันในบริเวณต่างๆ ที่เหมาะสม ตามแนวชายฝั่งเพื่อเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำ
ภาพแหล่งอาศัยของสัตว์





ภาพแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำที่จัดสร้างขึ้นใหม่






อ่านต่อได้ที่นี่ . . .
http://thaidatanetwork.thaidatanetwork.net/~smdec/main/index2.php?option=content&task=view&id=35&pop=1&page=0

Saturday, January 6, 2007

การยื่นคำขอรับอาชญาบัตรทำการประมงนอกน่านน้ำไทย

ระเบียบกรมประมง ว่าด้วยการยื่นคำขอรับอาชญาบัตรทำการประมงนอกน่านน้ำไทย พ.ศ.2532

อาศัยอำนาจตามความในประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง เงื่อนไขรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ.2490 ว่าด้วยการทำการประมงนอกน่านน้ำไทย ( ฉบับที่ 2 ) พ.ศ.2531 ประกอบกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2532 ข้อ 9 กรมประมงจึงออกระเบียบกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาปฏิบัติราชการสำหรับการขอรับอาชญาบัตรทำการประมงนอกน่านน้ำไทยไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า " ระเบียบกรมประมงว่าด้วยการยื่นคำขอรับอาชญาบัตรทำการประมงนอกน่านน้ำไทย พ.ศ.2532 "
ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2532 เป็นต้นไป
ข้อ 3 ให้ยกเลิกระเบียบกรมประมงว่าด้วยการขอรับอาชญาบัตรทำการประมงนอกน่านน้ำไทย พ.ศ.2531
ข้อ 4 อาชญาบัตรทำการประมงนอกน่านน้ำไทย หมายความว่า ใบอนุญาตซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ออกให้แก่ผู้รับอนุญาตเพื่อใช้เครื่องมือทำการประมงนอกน่านน้ำไทย ซึ่งอยู่ในบริเวณน่านน้ำตามข้อตกลงโดยชอบด้วยกฎหมาย ธรรมเนียมประเพณี สนธิสัญญา หรือโดยประการใด ระหว่างรัฐบาลหรือเอกชนไทย กับรัฐบาลหรือเอกชนของประเทศอื่น
ข้อ 5 ผู้ยื่นคำขอต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
( 1 ) ต้องมีสัญชาติไทยและมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย
( 2 ) ต้องเป็นเจ้าของเรือประมง และเรือประมงดังกล่าวต้องจดทะเบียนในประเทศไทย
ข้อ 6 ผู้ยื่นคำขอต้องแนบหลักฐาน ดังนี้
( 1 ) อาชญาบัตรฉบับหลังสุดสำหรับเครื่องมือนั้น ( ถ้ามี )
( 2 ) สำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนาบัตรประชาชน
( 3 ) สำเนาทะเบียนเรือไทย
( 4 ) ผู้ยื่นคำขอแทนเจ้าของเรือ จะต้องมีหนังสือมอบอำนาจ
( 5 ) ในกรณีที่เป็นนิติบุคคลต้องแนบสำเนาใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลและหลักฐานแสดงว่า มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการประมง สำหรับผู้ยื่นคำขอแทนนิติบุคคล จะต้องมีใบมอบอำนาจจากนิติบุคคลนั้น
( 6 ) หนังสือสัญญาหรือข้อตกลงให้ทำการประมงร่วมกับประเทศนั้น ๆ
( 7 ) ในกรณีเจ้าของเรือเข้าร่วมทำการประมงกับบุคคลหรือนิติบุคคลผู้ซึ่งได้รับสัมปทานทำการประมงร่วมกับประเทศนั้น ๆ จะต้องมีหนังสือรับรองจากบุคคลหรือนิติบุคคลผู้ได้รับสัมปทานเป็นหนังสือด้วย
( 8 ) ถ้าผู้ยื่นคำขอประสงค์จะให้บุคคลใดในครอบครัวหรือลูกจ้างมีสิทธิใช้เครื่องมือนั้นด้วยก็ให้ระบุไว้ในคำขอ
ข้อ 7 ให้ผู้ประสงค์จะขออาชญาบัตรเพื่อใช้เครื่องมือทำการประมงนอกน่านน้ำไทย ยื่นคำขอรับอาชญาบัตรต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ฝ่ายควบคุมการประมง กองคุ้มครองและส่งเสริมกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพ ฯ 10200
ข้อ 8 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รับคำขอและดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ดังนี้
( 1 ) รับคำขอ และลงทะเบียนรับ
( 2 ) ตรวจสอบคำขอและเอกสาร ถ้าไม่ถูกต้องตามระเบียบนี้ ให้คืนคำขอและเอกสารแล้วแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบ ภายใน 1 วัน เพื่อแก้ไขต่อไป
( 3 ) เมื่อเห็นว่าคำขอและเอกสารถูกต้องให้พนักงานเจ้าหน้าที่เขียนอาญาบัตรทำการประมงนอกน่านน้ำไทย ( แบบ 002 ) เสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น เพื่อให้อธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายแล้วแต่กรณี เป็นผู้ลงนามอนุญาต ให้แล้วเสร็จและมอบอาชญาบัตรให้แก่ผู้ยื่นคำขอโดยเร็ว แต่อย่างช้าไม่เกิน 5 วันทำการ
( 4 ) ในกรณีที่มีเหตุสงสัยจำเป็นจะต้องตรวจสอบเรือประมง และหรือเครื่องมือทำการประมงประกอบคำขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบเรือประมงและเครื่องมือให้แล้วเสร็จ นับแต่วันที่ได้ตกลงนัดตรวจแต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 10 วันทำการ หากตรวจสอบแล้วและเห็นสมควรอนุญาตให้ดำเนินการตาม ( 7 )
ข้อ 9 เมื่ออธิบดีหรือผู้ที่ที่อธิบดีมอบหมายลงนามในใบอาชญาบัตรแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บเงินอากรตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
ข้อ 10 ให้ผู้อำนวยการกองคุ้มครองและส่งเสริมเป็นผู้รักษาการ ตามระเบียบนี้


ประกาศ ณ วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2532

จังหวัดตรังมีการลักลอบหันมาใช่เครื่องมือผิดกฎหมาย

พื้นที่ในการทำประมง ในจังหวัดตรังมีการลักลอบหันมาใช่เครื่องมือผิดกฎหมาย


นายอดุลย์ จิวตั้น คณะกรรมการชมรมประมงพื้นบ้าน จ.ตรัง เปิดเผยว่า หลังจากชมรมประมงพื้นบ้าน 4 อําเภอ และ 1 กิ่งอําเภอ จ.ตรัง ร่วมกันรณรงค์ให้ผู้ทําธุรกิจประมงเลิกใช้เครื่องมือทําการประมงที่ผิดกฎหมาย อาทิ อวนลาก และอวนรุน ปรากฏว่าประสบความสําเร็จ แนวชายฝั่งทะเลตรังตลอด 119 กิโลเมตร ปลอดจากเครื่องมือประมงผิดกฎหมาย ทําให้ทะเลมีความสมบูรณ์ และสัตว์นํ้าเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ชาวประมงพื้นบ้านจับสัตว์นํ้าได้มาก และมีรายได้เพิ่มขึ้น แต่ล่าสุดพบว่ามีการลักลอบหันมาใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมายอีกโดยเฉพาะใน อ.กันตัง พบมากที่สุด


คณะกรรมการชมรมประมงพื้นบ้าน จ.ตรัง กล่าวต่อว่า ทั้งที่ทางประมงจังหวัด ตํารวจ และชมรมประมงพื้นบ้าน ร่วมกันตรวจตราป้องกันและปราบปรามการใช้เครื่องมือประมงที่ผิดกฎหมายมาอย่างต่อเนื่อง เมื่อจับกุมผู้กระทําผิดพร้อมยึดอุปกรณ์ แต่สุดท้ายเครื่องมือดังกล่าวก็ไม่ได้ถูกยึด ส่งผลให้ผู้กระทําความผิดนําอุปกรณ์มาใช้หากินกันต่อไป



อวนรุน







อวนลาก




อ่านเพิ่มเติ่มได้ที่นี่ . . .
http://gotoknow.org/blog/group806/15420

แหล่งทำการประมงเขตจังหวัดตรัง

แหล่งทำการประมงเขตจังหวัดตรัง









เกาะลิบง


แหล่งทำการประมง : บริเวณเกาะลิบง และ เกาะตาใบ


เครื่องมือที่ใช้จับ : เครื่องมืออวนลาก แผ่นตะเฆ่ ขนาดความยาว 14-18 เมตร OBT 2 ND (ทำการประมงทั้งกลางวันและกลางคืน)


อัตราการจับ : เฉลี่ย 76.5 กก./ชม.


องค์ประกอบ : สัตว์น้ำเศรษฐกิจ 60.8% และปลาเป็ด 39.2%(ข้อมูลจากเขตตรัง เดือนกันยายน 2549) สัตว์น้ำเศรษฐกิจ พบมาก คือ กลุ่มปลาหน้าดิน 50.3% ชนิดที่พบมาก คือ ปลาแพะ (Upeneus sulphureus) 16.1% กลุ่มสัตว์น้ำที่พบรองลงมาได้แก่ กลุ่มปลาผิวน้ำ และกลุ่มปลาหมึก เท่ากับ 7.3% และ 2.4% ตามลำดับ ปลาเป็ด พบปลาเป็ดที่เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจขนาดเล็ก 20.2% และปลาเป็ดแท้ 19.0% โดย สัตว์น้ำเศรษฐกิจขนาดเล็กที่พบมาก คือ ปลาแพะ (Upeneus sulphureus) เท่ากับ 6.3% และปลาเป็ดแท้ที่พบมาก คือ ปลาแป้น (Secutor insidiator) เท่ากับ 11.9%






ปลาแพะ






ปลาแป้น












เกาะอาดัง


แหล่งทำการประมง : บริเวณเกาะโกย เกาะอาดัง และน่านน้ำประชิดไทย – มาเลเซีย

เรือที่ใช้จับ : เรืออวนล้อม จำนวนเรือ อวนล้อมซั้ง 12 ลำ อวนล้อมจับขนาดตา 1.5 ซม. 9 ลำ อวนดำ 4 ลำ อวนล้อมจับปั่นไฟ 3 ลำ และอวน ตังเก 1 ลำ

อัตราการจับ : จาก อวนล้อมซั้ง 2,987 กก./วัน อวนล้อมจับขนาดตา 1.5 ซม. 1,906 กก./วัน อวนล้อมจับปั่นไฟ 1,500 กก./วัน. อวนดำ 1,213 กก./วัน และ อวนตังเก 375 กก ./วัน

องค์ประกอบ : พบปลามากสุดมากที่สุด คือ ปลา ลัง เท่ากับ 30.9% รองลงมา คือ ปลาสลิดทะเลจุดขาว ปลาสีกุนบั้ง และ ปลา ทู เท่ากับ 14.9,7.1 และ 7.0%(ข้อมูลจากเขตจังหวัดตรัง เดือนกันยายน 2549) ตามลำดับ ปลาทูที่ ขึ้นท่าในเขตจังหวัดสตูล จากการประเมิน จาก อว นดำ เท่ากับ 113 ตัน (TL 11.1-18.0 ซม.) อวนล้อมซั้ง เท่ากับ 48 ตัน (TL 11.1-20.0ซม.) อวนล้อมจับปั่นไฟ เท่ากับ 32 ตัน (TL 12.1 - 17.0 ซม.) และ อวนล้อมจับขนาดตา 1.5 ซม.) เท่ากับ 5 ตัน (TL 11.1-17.0 ซม.) อวนเขียว






ที่มาจาก . . .
http://www.fisheries.go.th/MS-satun/rote.htm

แหล่งการทำประมงบริเวณเกาะในจังหวัด สตูล

แหล่งการทำประมงบริเวณเกาะในจังหวัด สตูล




ท่าเรือปากบารา

แหล่งทำการประมง : บริเวณเกาะ เขาใหญ่ (ปากบารา) และ เกาะ โกย
เครื่องมือหรือเรือที่ใช้ : อวนลาก แผ่นตะเฆ่ ขนาดความยาว 14- 18 เมตร OBT 2 ND (ทำการประมงทั้งกลางวันและกลางคืน)

เรืออวนลาก


อัตราการจับ : เฉลี่ย 6.4 กก. /ชม.องค์ประกอบ สัตว์น้ำเศรษฐกิจ 91.2 % และปลาเป็ด 8.8 %(ข้อมูลจากเขตสตูล เดือน สิงหาคม 2549) สัตว์น้ำเศรษฐกิจ พบมากคือ กลุ่ม กุ้ง 81.0 % ชนิดที่พบมากคือ กุ้งโอคัก ( Metapenaeus lysianassa ) 69.9 % กลุ่มสัตว์น้ำที่พบรองลงมาได้แก่ กลุ่มปลาหมึก และกลุ่มปลาผิวน้ำ เท่ากับ5. 2% และ 2.5 % ตามลำดับ

ปลาเป็ด :ไม่ได้แยกองค์ประกอบชนิดเนื่องจากชาวประมงคัดทิ้งกลางทะเล


ปลาเป็ด


เกาะตารุเตา

แหล่งทำการประมง : บริเวณเกาะกลาง เกาะตะรุเตา
เครื่องมือหรือเรือที่ใช้ : อวนลากคู่ PTND และอวนรุน (Push Nets) (ทำการประมงทั้งกลางวันและกลางคืน)


เรืออวนรุน

อัตราการจับ : เฉลี่ย 233.4 กก. /ชม. องค์ประกอบ สัตว์น้ำเศรษฐกิจ 62.5 % และปลาเป็ด 37.5 % (ข้อมูลจากเขตสตูล เดือน สิงหาคม 2549)สัตว์น้ำเศรษฐกิจ พบมากคือ กลุ่มปลาผิวน้ำ 3 4.2 % ชนิดที่พบมาก คือ ปลาทูแขกครีบหูยาว 15.6 % กลุ่มสัตว์น้ำที่พบรองลงมาได้แก่ กลุ่มปลาหน้าดิน และกลุ่มหมึก เท่ากับ 21.0 % และ 6.2 % ตามลำดับ ปลาเป็ด พบปลาเป็ดที่เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจขนาดเล็ก 28.5 % และปลาเป็ดแท้ 9.0 % โดย สัตว์น้ำเศรษฐกิจขนาดเล็กที่พบมาก คือ ปลากะตัก เท่ากับ 8.6 % และปลาเป็ดแท้ที่พบมาก คือ ปลาแป้น ( Secutor ruconius ) เท่ากับ 4.4 %




ที่มาจาก . . .

http://www.fisheries.go.th/MS-satun/rote.htm

แหล่งทำการประมงฝั่งอันดามัน

แหล่งทำการประมงฝั่งอันดามัน






ลักษณะทางภูมิศาสตร์ เป็นดังนี้


- พื้นที่ชายฝั่งทะเลยาวทั้งหมด 740 กิโลเมตร


- เป็นที่ราบลาดชัน มีความลึกมากกว่าทางอ่าวไทย


- แม่น้ำที่ไหลเข้าสู่ทะเลอันดามันส่วนใหญ่เป็นแม่น้ำสายสั้นๆ


- ลักษณะของพื้นท้องทะเลส่วนใหญ่เป็นโคลนปนทราย


- เป็นลักษณะของไหล่ทวีปที่ค่อนข้างแคบ


- มีความลึกของน้ำมากและกระแสน้ำแรง บางแห่งห่างจากฝั่งประมาณ 30 กิโลเมตรก็จะมีความลึกของน้ำเกิน 100 เมตร


- ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้โดยตรง


- มีแหล่งปะการังมาก


- แหล่งทำการประมงด้านทะเลอันดามันตามการประกาศเขตเศรษฐกิจจำเพาะเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2524 ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 126,000 ตารางกิโลเมตร


- เขตการประมงแบ่งเป็น 2 เขต คือ


เขต 6 ทะเลอันดามันตอนบน ประกอบด้วยทะเลที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต


เขต 7 ทะเลอันดามันตอนล่าง ประกอบด้วยทะเลที่อยู่ในอาณาเขตจังหวัดกระบี่ ตรัง และสตูล
แหล่งประมงนอกน่านน้ำไทย แบ่งออกเป็น 5 เขต คือ


แหล่งประมง A ครอบคลุมพื้นที่ทะเลจีนใต้ตอนบน


แหล่งประมง B ครอบคลุมพื้นที่ทะเลจีนใต้ตอนล่าง


แหล่งประมง C ครอบคลุมพื้นที่ทะเลอันดามันบริเวณช่องแคบมะละกา


แหล่งประมง D ครอบคลุมพื้นที่ทะเลอันดามันด้านประเทศพม่า


แหล่งประมง E ครอบคลุมพื้นที่ทะเลอันดามันด้านประเทศบังคลาเทศพื้นที่ทำการประมงนอกน่านน้ำในพื้นที่ประเทศที่มีการทำสัญญาทำการประมงร่วม ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา บรูไน มาเลเซีย อินโดนีเซีย บังคลาเทศ อินเดีย และซาอุดิอาระเบีย
ที่มาจาก . . .

แหล่งทำการประมงในอ่าวไทย

แหล่งทำการประมงในอ่าวไทย





ลักษณะทางภูมิศาสตร์ทางฝั่งอ่าวไทย เป็นดังนี้
- พื้นที่ชายฝั่งทะเลยาวทั้งหมด 1,875 กิโลเมตร
- ลักษณะสภาพของทะเลในอ่าวไทยมีลักษณะเป็นที่ลาด
- มีความลึกไม่มากนัก ประมาณ 70-85 เมตร
- สภาพพื้นท้องทะเลเป็นโคลน โคลนปนทราย ทรายปนโคลน และทราย
- เป็นอ่าวแบบกึ่งปิด
- แม่น้ำสำคัญหลายสายไหลลงสู่อ่าวไทย ดังนี้
เจ้าพระยา ท่าจีน บางปะกง แม่กลอง (อ่าวไทยตอนบน)
เวฬุ ระยอง (ฝั่งตะวันออกของอ่าวไทย)
ตาปี (ฝั่งตะวันตกคอนใต้ของอ่าวไทย)-ลมมรสุม
ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ –ตามเข็มนาฬิกา
ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้-ทวนเข็มนาฬิกา
- แหล่งทำการประมงในอ่าวไทยตามการประกาศเขตเศรษฐกิจจำเพาะ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2524 ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 252,000 ตารางกิโลเมตร เขตเศรษฐกิจจำเพาะทางฝั่งอ่าวไทย แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ เขต EEZ ของไทย 252,000 ตร.กม. และเขตทับซ้อนต่างๆ ดังนี้
ไทย-กัมพูชา 34000 ตร.กท.
ไทย-กัมพูชา-เวียดนาม 14000 ตร.กม.
ไทย-มาเลเซีย 4000 ตร.กม.
- เขตการประมงทางฝั่งอ่าวไทยแบ่งออกเป็น 5 เขต ดังนี้
เขต 1 อ่าวไทยด้านตะวันออก ประกอบด้วยทะเลที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดตราด,จันทบุรีและระนอง
เขต 2 อ่าวไทยตอนใน ประกอบด้วยทะเลที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และเพชรบุรี
เขต 3 อ่าวไทยด้านตะวันตกตอนบน ประกอบด้วยทะเลที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ และสุราษฎร์ธานี
เขต 4 อ่าวไทยด้านตะวันตกตอนล่าง ประกอบด้วยทะเลที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส
เขต 5 อ่าวไทยตอนกลาง ประกอบด้วยทะเลที่อยู่บริเวณกลางอ่าวไทย มีอาณาเขตติดต่อกับเส้นแบ่งเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศมาเลเซีย เวียดนามและสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา ลักษณะพื้นท้องทะเลบริเวณชายฝั่งของเขต 1 เป็นทรายปนโคลนและเปลือกหอย บริเวณห่างฝั่งออกไปเป็นทรายปนเปลือกหอย เขต 2, 3 และ 5 ส่วนใหญ่เป็นโคลนเลน เขต 5 พื้นท้องทะเลมีลักษณะเป็นโคลนเหลว แต่ห่างจากฝั่งออกไปจะเป็นโคลนปนทรายกับทรายและเปลือกหอย พื้นท้องทะเลในเขต 1 และ 2 ราบเรียบเหมาะสำหรับการลากอวน บางส่วนของเขต 3, 4 และ 5 ไม่สามารถจะลากอวนได้โดยเฉพาะในเขต 5 ซึ่งอยู่กลางอ่าวและพื้นท้องทะเลส่วนใหญ่จะเป็นสันสูง 1-2 เมตร
ที่มา . . .