ซินเจีย ยู่อี่ ซินนี้ ฮวดใช้ ขอให้ เฮง เฮง . . .

Saturday, January 6, 2007

แหล่งทำการประมงเขตจังหวัดตรัง

แหล่งทำการประมงเขตจังหวัดตรัง









เกาะลิบง


แหล่งทำการประมง : บริเวณเกาะลิบง และ เกาะตาใบ


เครื่องมือที่ใช้จับ : เครื่องมืออวนลาก แผ่นตะเฆ่ ขนาดความยาว 14-18 เมตร OBT 2 ND (ทำการประมงทั้งกลางวันและกลางคืน)


อัตราการจับ : เฉลี่ย 76.5 กก./ชม.


องค์ประกอบ : สัตว์น้ำเศรษฐกิจ 60.8% และปลาเป็ด 39.2%(ข้อมูลจากเขตตรัง เดือนกันยายน 2549) สัตว์น้ำเศรษฐกิจ พบมาก คือ กลุ่มปลาหน้าดิน 50.3% ชนิดที่พบมาก คือ ปลาแพะ (Upeneus sulphureus) 16.1% กลุ่มสัตว์น้ำที่พบรองลงมาได้แก่ กลุ่มปลาผิวน้ำ และกลุ่มปลาหมึก เท่ากับ 7.3% และ 2.4% ตามลำดับ ปลาเป็ด พบปลาเป็ดที่เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจขนาดเล็ก 20.2% และปลาเป็ดแท้ 19.0% โดย สัตว์น้ำเศรษฐกิจขนาดเล็กที่พบมาก คือ ปลาแพะ (Upeneus sulphureus) เท่ากับ 6.3% และปลาเป็ดแท้ที่พบมาก คือ ปลาแป้น (Secutor insidiator) เท่ากับ 11.9%






ปลาแพะ






ปลาแป้น












เกาะอาดัง


แหล่งทำการประมง : บริเวณเกาะโกย เกาะอาดัง และน่านน้ำประชิดไทย – มาเลเซีย

เรือที่ใช้จับ : เรืออวนล้อม จำนวนเรือ อวนล้อมซั้ง 12 ลำ อวนล้อมจับขนาดตา 1.5 ซม. 9 ลำ อวนดำ 4 ลำ อวนล้อมจับปั่นไฟ 3 ลำ และอวน ตังเก 1 ลำ

อัตราการจับ : จาก อวนล้อมซั้ง 2,987 กก./วัน อวนล้อมจับขนาดตา 1.5 ซม. 1,906 กก./วัน อวนล้อมจับปั่นไฟ 1,500 กก./วัน. อวนดำ 1,213 กก./วัน และ อวนตังเก 375 กก ./วัน

องค์ประกอบ : พบปลามากสุดมากที่สุด คือ ปลา ลัง เท่ากับ 30.9% รองลงมา คือ ปลาสลิดทะเลจุดขาว ปลาสีกุนบั้ง และ ปลา ทู เท่ากับ 14.9,7.1 และ 7.0%(ข้อมูลจากเขตจังหวัดตรัง เดือนกันยายน 2549) ตามลำดับ ปลาทูที่ ขึ้นท่าในเขตจังหวัดสตูล จากการประเมิน จาก อว นดำ เท่ากับ 113 ตัน (TL 11.1-18.0 ซม.) อวนล้อมซั้ง เท่ากับ 48 ตัน (TL 11.1-20.0ซม.) อวนล้อมจับปั่นไฟ เท่ากับ 32 ตัน (TL 12.1 - 17.0 ซม.) และ อวนล้อมจับขนาดตา 1.5 ซม.) เท่ากับ 5 ตัน (TL 11.1-17.0 ซม.) อวนเขียว






ที่มาจาก . . .
http://www.fisheries.go.th/MS-satun/rote.htm

No comments: