ซินเจีย ยู่อี่ ซินนี้ ฮวดใช้ ขอให้ เฮง เฮง . . .

Saturday, December 23, 2006

เรือประมงลักลอบเข้าไปทำประมงในน่านน้ำประเทศเพื่อนบ้าน ถือว่าเป็นการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร

พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง


การที่เรือประมงลักลอบเข้าไปทำประมงในน่านน้ำประเทศเพื่อนบ้าน ถือว่าเป็นการเดินทางออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 11 กำหนดไว้ว่า การเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรจะต้องเดินทางเข้ามาหรือออกไปตามช่องทาง ด่านตรวจคนเข้าเมือง เขตท่า สถานี หรือท้องที่และตามกำหนดเวลา ทั้งนี้ตามที่รัฐมนตรีจะได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และในมาตรา 18 วรรค 2 ก็กำหนดไว้ว่า บุคคลซึ่งเดินทางเข้ามาหรือออกไปนอกราชอาณาจักร ต้องยื่นรายการตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง และผ่านการตรวจอนุญาตของพนักงานเจ้าหน้าที่ ของด่านตรวจคนเข้าเมืองประจำเส้นทางนั้น จึงเห็นได้ว่าหากลูกเรือประมง เจ้าของเรือและผู้ที่ควบคุมเรือที่เดินทางออกนอกราชอาณาจักร โดยไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว ก็จะเป็นความผิดตามมาตรา 11, 18 และมีโทษตามมาตรา 62 วรรคหนึ่ง ซึ่งกำหนดโทษไว้ จำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 20,000 บาท แต่ถ้าผู้กระทำผิดตามมาตรา 62 วรรคหนึ่ง มีสัญชาติไทยก็ให้ระวางโทษ ปรับไม่เกิน สองพันบาท ตามมาตรา 62 วรรคสอง

ในกรณีเจ้าของเรือหรือผู้ควบคุมเรือ พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 23 ก็กำหนดไว้ให้เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะ จะต้องนำพาหนะเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรตามช่องทางด่านตรวจคนเข้าเมือง เขตท่า สถานี หรือท้องที่และตามกำหนดเวลา ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีจะได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และในมาตรา 25 วรรคหนึ่ง ก็กำหนดให้พาหนะใดที่เข้ามาในหรือจะออกไปนอกราชอาณาจักร เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะต้องแจ้งกำหนดวันและเวลา ที่พาหนะเข้ามาถึง หรือจะออกจากเขตท่า สถานี หรือท้องที่ตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองซึ่งควบคุมเขตท่า สถานี หรือท้องที่นั้นภายในเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประกาศไว้ ฉะนั้น หากเจ้าของเรือประมงหรือผู้ควบคุมเรือประมงไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว ก็จะเป็นความผิดตามมาตรา 23 และมาตรา 65 ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับและเป็นความผิดตามมาตรา 25 และมาตรา 66 ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 เดือนหรือปรับไม่เกิน 10,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ที่มาจาก. . .

Tuesday, December 19, 2006

การเข้าไปทำการประมงในเขตประเทศพม่า

โครงการทำสัมปทานการทำประมงในประเทศพม่า

ผลจากการประชุมระหว่างกรมประมงไทยและกรมประมงพม่า ระหว่างวันที่ 18-20 กุมภาพันธ์ 2547 ณ กรุงย่างกุ้ง พม่าได้แจ้งให้ทราบถึงการให้สิทธิการประมงแก่ประเทศไทย โดยจะดำเนินการผ่านผู้ประกอบการที่ผ่านพม่าคัดเลือกและผ่านมติของคณะรัฐมนตรี เงื่อนไขการทำประมงดังกล่าวสามารถสรุปได้ดังนี้จำนวนเรือประมงไทยที่ได้รับสัมปทานเรือประมงอวนลาก จำนวน 450 ลำเรือประมงอวนล้อม จำนวน 50 ลำรวมทั้งสิ้น จำนวน 500 ลำอัตราค่าสัมปทาน (ต่อเดือน)ต่ำกว่า 80 ตก. 8,000 us. / 80 - 90 ตก. 8,500 us. / 91 - 100 ตก. 9,000 us. / 101 - 110 ตก. 9,500 us. / 111 - 120 ตก. 10,000 us. / 121 - 150 ตก. 11,000 us. / มากกว่า 150 ตก. 12,000 us.หมายเหตุ ตก. = ตันกรอส , us. = เหรียญดอลลาร์สหรัฐพื้นที่ทำการประมงเรือประมงไทยที่เข้าร่วมโครงการ ต้องทำการประมงภายนอกทะเลอาณาเขต และในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศพม่า ตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตตามแผนที่ที่แนบ ค่าประกันความเสียหาย
1. บริษัทที่ได้สัมปทานจะเป็นผู้วางเงินค่าประกันความเสียหายจำนวนเงิน 100,000เหรียญสหรัฐไว้ที่กรมประมงประเทศพม่า (บัญชีหมายเลข 93916 ธนาคารการค้าต่างประเทศพม่า ก่อนเข้าทำการประมง)
2. ค่าประกันดังกล่าว จะใช้เป็นค่าต่อใบอนุญาตทำการประมง และค่าปรับในกรณีทำผิด เป็นต้น บริษัทผู้รับสัมปทานต้องวางเงินประกันเพิ่มเติมให้เต็มจำนวนโดยทันทีหลังจากมีการใช้จ่ายเงินประกันความเสียหายดังกล่าว
3. เงินประกันความเสียหายสามารถถอนคืนได้ ถ้าไม่ใช่กรณีเป็นการจ่ายค่าเสียหาย เมื่อสิ้นสุดโครงการ จุดตรวจสอบ เกาะสอง (Kawthaung)ระยะเวลาการให้สัมปทาน 5 ปี โดยในปีแรกพิจารณาให้เป็นระยะทดลองดำเนินการข้อกำหนดและเงื่อนไขสำหรับเรือประมงต่างชาติใบอนุญาตทำการประมงสำหรับเรือประมงต่างชาติทุกฉบับ อยู่ภายใต้ข้อบังคับของข้อกำหนดและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1.1) ห้ามเรือประมงต่างชาติจะเข้าไปในเขตน่านน้ำของประเทศพม่า เพื่อประสงค์ทำการประมงไม่ได้ ยกเว้นได้รับอนุญาตจาก- กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสัมปทานทำการประมงสำหรับเรือประมงต่างชาติ หรือ- กฎหมายอื่นใดของสหภาพพม่า
(1.2) ในน่านน้ำการประมงของสหภาพพม่า ห้ามกระทำการดังนี้
(ก)ทำการประมงหรือเตรียมทำการประมง
(ข) ขนขึ้น นำขึ้นท่า ถ่ายเรือหรือทำการขนส่งปลา ผลผลิตสัตว์น้ำ เสบียงและคนหรือลูกเรือใด ๆ
(ค) ทำการวิจัยหรือสำรวจด้านวิชาการและเศรษฐกิจการทำประมง ยกเว้นได้รับการอนุญาตให้กระทำได้จาก-กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสัมปทานทำการประมงสำหรับเรือประมงต่างชาติ- กฎหมายอื่นใดของสหภาพพม่า
2. ผู้ประกอบการ ไต้ก๋ง และลูกเรือของเรือประมงต่างชาติจะต้องยึดถือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสัมปทานทำการประมงสำหรับเรือประมงต่างชาติ หรือกฎหมายอื่นใดของสหภาพพม่า
3. ผู้ประกอบการจะปฏิบัติและคงไว้ซึ่งข้อผูกมัดหรือเงินประกันความเสียหาย หรือรูปแบบการประกันอื่นใดตามที่อธิบดีกรมประมงกำหนด
4. เรือประมงต่างชาติลำใดจะเข้าทำการประมงในเขตน่านน้ำประเทศพม่าได้ ต่อเมื่อ
4.1 เรือประมงได้รับใบอนุญาต ทำการประมงตามข้อกำหนดเงื่อนไขการทำการประมงต่างชาติ
4.2 เรือประมงได้แสดงหลักฐานการจ่ายเงินในการขอใบอนุญาต โดยติดแสดงหลักฐานนั้นอย่างเด่นชัดไว้ในห้องถือท้ายเรือของเรือเจ้าของใบอนุญาตนั้น และ
4.3 เรือประมงต้องขึ้นทะเบียนกับกรมประมงพม่าตามกำหนดเวลา
5. เรือประมงต้องติดตั้งและรักษาเครื่องมือติดต่อสื่อสาร การเดินเรือ หลักฐาน และสัญญาณให้พร้อมใช้งานเสมอ
6. เรื่อประมงต่างชาติใด ๆ หลังเข้าไปในเขตน่านน้ำประเทศพม่า จะต้องนำเรือตรงเข้าท่าเรือหรือสถานที่เพื่อทำการตรวจในขั้นต้น
7. (ก) เรือประมงที่ได้รับใบอนุญาตทุกลำ ในขณะที่อยู่ในเขตน่านน้ำทำการประมงของประเทศพม่า ต้องเขียนเลขที่ได้รับอนุญาต เป็นเลขอารบิคสีขาวบนพื้นสีเขียวไว้ที่สองข้างของตัวเรือในลักษณะและขนาดที่มองเห็นชัดเจนจากทางอากาศและทางทะเล
(ข)โดยไม่มีกรณียกเว้น- ในกรณีเรือประมงมีขนาดความยาวทั้งหมดเกิน 20 เมตร ต้องเขียนขนาดอักษรต้องมีความสูงไม่น้อยกว่า1เมตร- ในกรณีเรือประมงมีขนาดความยาวทั้งหมดไม่เกิน 20 เมตร ต้องเขียนขนาดอักษรและมีความสูงไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร
8. เรือประมงต่างชาติได้รับสิทธิผ่านน่านน้ำประมงพม่าโดยสุจริตหรือไม่ได้รับอนุญาตทำการประมงในขณะนั้นและในพื้นที่นั้น ต้องเก็บเครื่องมือทำการประมงไว้ใต้ดาดฟ้าเรือ หรือเคลื่อนย้ายเครื่องมือประมงจากบริเวณเรือที่โดยปกติใช้ทำการประมง หรือให้อยู่ในบริเวณที่ไม่พร้อมทำการประมง
9. ไต้ก๋งเรือหรือผู้แทนที่ได้รับอนุญาตต้องแจ้งอธิบดีกรมประมงถึงกำหนดวันและเวลาโดยประมาณก่อนการนำเรือประมงเข้าเขตน่านน้ำพม่าภายในไม่น้อยกว่า 48 ชั่วโมง พร้อมทั้งรายละเอียดต่อไปนี้
9.1รายละเอียดเรือประมง
9.2 เส้นทางเดินเรือและท่าเรือที่จะเดินทางไป
10.ใบอนุญาตทำการประมงที่ออกให้แก่เรือประมงใดเรือประมงหนึ่ง จะมีผลบังคับใช้เฉพาะเรือประมงลำนั้น โดยไม่สามารถใช้กับเรือประมงลำอื่นใด
11. การทำประมงภายใต้ใบอนุญาต จะมีการกำหนดชนิดปลา ปริมาณปลา วิธีทำประมง เครื่องมือทำประมง พื้นที่ทำการประมงและระยะเวลาทำการประมง ตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาต
12. การขนถ่ายปลา ขนส่งหรือแปรรูปปลา จะกระทำได้ต่อเมื่อมีใบอนุญาตให้ทำได้เฉพาะสำหรับปลาบางชนิดในปริมาณที่จำกัดจากเรือที่ระบุไว้ในใบอนุญาตเท่านั้น
13. ไต้ก๋งเรือประมงต่างชาติที่ได้รับใบอนุญาต ต้องกระทำ ดังนี้
13.1 ต้องดำเนินการนำเรือไปยังที่หรือท่าเรือเพื่อทำการตรวจในทันที่ เมื่ออธิบดีกรมประมงหรือผู้ตรวจสอบต้องการ
13.2 ต้องอนุญาตให้ผู้สังเกตการณ์ ขึ้นไปบนเรือเพื่อทำวิจัยเมื่ออธิบดีกรมประมงต้องการ
13.3 ให้ความช่วยเหลืออย่างเหมาะสมและเพียงพอ แก่ผู้ตรวจหรือผู้สังเกตการณ์ในการปฏิบัติงานบนเรือ
14. ห้ามทำการประมง รบกวน จับสัตว์น้ำเลี้ยงลูกด้วยนม หอยมุก ล็อบสเตอร์ที่มีไข่เต่าทะเลและไข่เต่าทะเล ในเขตน่านน้ำพม่า
15. ในกรณีที่สัตว์น้ำเลี้ยงลูกด้วยนม หอยมุก ล็อบสเตอร์ที่มีไข่ เต่าทะเลและไข่เต่าทะเลถูกจับหรือนำมาโดยไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ระหว่างทำการประมง สัตว์เหล่านั้นหากยังมีชีวิตอยู่จะต้องปล่อยในทันที
16. ห้ามใช้สารพิษ ระเบิด สารที่ทำให้มึน สารเคมี หรือเครื่องกระแสไฟฟ้าในการทำประมง
17. ห้ามกระทำการใดกับชาวประมงท้องถิ่นอันเป็นสาเหตุให้สูญเสียหรือทำลายเรือประมง เครื่องมือประมง และผลจับสัตว์น้ำของชาวประมงท้องถิ่น
18. ผู้รับสัมปทานหรือไต้ก๋งเรือประมงต่างชาติจะต้องจ่ายค่าชดเชยอย่างเป็นธรรมให้แก่ชาวประมงท้องถิ่น ในกรณีที่ตนทำให้เกิดความสูญเสียหรือเกิดความเสียหายแก่เรือประมง เครื่องมือประมงหรือปลาที่จับได้ของชาวประมงท้องถิ่น
19. ห้ามทิ้งหรือปล่อยสิ่งมีชีวิต สิ่งของหรือวัตถุ อุปกรณ์หรือเครื่องมือทำการประมง อันอาจเป็นเหตุให้เกิดภัยอันตรายแก่ปลา สัตว์ทะเลและสิ่งแวดล้อมในทะเล จากเรือต่างชาติลงไปในน้ำ
20. ไต้ก๋งเรือทุกลำในเขตน่านน้ำพม่า ต้องแน่ใจว่ารักษาระยะให้เรืออยู่ห่างจากเครื่องมือทำการประมงของเรือลำอื่น ไม่น้อยกว่า 0.5 ไมล์ทะเล ตลอดเวลา 21. ไต้ก๋งของเรือจะต้องเก็บรักษาบันทึกรายงานในรูปแบบที่อธิบดีกรมประมงต้องการ
22. ไต้ก๋งเรือต้องส่งผ่านบันทึกรายงานหรือแบบฟอร์มตามที่ต้องการไปยังอธิบดีกรมประมงตลอดระยะเวลาที่ได้รับใบอนุญาต ในช่วงใดก็ได้ตามคำร้องขอของอธิบดีกรมประมงหรือผู้ตรวจสอบ
23. เรือประมงต่างชาติที่ได้รับใบอนุญาตจะต้องชักธงของประเทศตนและธงชาติสหภาพพม่าตลอดเวลาในขณะอยู่ในเขตทำการประมงของพม่า
24. ห้ามเรือประมงที่มีใบอนุญาต ใช้เครื่องมือประมง ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนเมื่อติดตั้งที่เรือ ยกเว้นเครื่องมือที่ติดตั้งอย่างถาวรและเป็นเครื่องหมายให้เห็นเด่นชัดสำหรับเลขที่ใบอนุญาตของเรือนั้น
25. บุคคลที่เป็นไต้ก๋งและลูกเรือทุกคน จะต้องระมัดระวังด้านความปลอดภัยให้แก่ผู้ตรวจสอบหรือผู้สังเกตการณ์ทุกคนไว้ก่อน
26. ก่อนออกจากเขตน่านน้ำทำการประมงพม่า เรือประมงต่างชาติต้องผ่านการตรวจสอบครั้งสุดท้ายที่ท่าเรือหรือสถานที่ที่กำหนด
27. ภายหลังการตรวจสอบครั้งสุดท้าย เรือต้องออกจากเขตน่านน้ำทำการประมงพม่าโดยตรง และไม่ทำการประมงหรืออยู่ในสภาพที่เกี่ยวข้องกับการทำประมงก่อนออกจากน่านน้ำ
28. เงินค่าประกันความเสียหายหรือความปลอดภัยที่ผู้ประกอบการได้วางไว้ จะนำมาใช้จ่ายเป็นค่าปรับหรือค่าชดเชยใด ๆ ซึ่งเป็นผลเกิดจากการกระทำของเรือต่างชาติได้
29. ผู้ประกอบการต้องนำเงินประกันความเสียหายมาวางเพิ่มเติมให้ครบเต็มตามจำนวนที่ระบุไว้ ในกรณีที่เงินค่าประกันดังกล่าวถูกใช้จ่ายไป
30. ห้ามใช้อวนลากปลาและอวนลากกุ้ง ที่มีขนาดตาอวนก้นถุงเล็กกว่า 2.50 นิ้วและห้ามใช้อวนล้อมที่มีขนาดเล็กกว่า 4 นิ้ว
31. ห้ามเรือประมงขนส่งปลาที่ยังมีชีวิตโดยไม่ได้รับอนุญาตจากกรมประมง
32. เจ้าของเรือต้องรับผิดชอบรายการต่าง ๆ ที่ระบุไว้ในใบทะเบียนเรือ
33. ต้องแจ้งตำแหน่งเรือในแต่ละวันเป็นลายลักษณ์อักษรไปยังอธิบดีกรมประมง หรือสำนักงานที่เกาะสอง หรือสำนักงานใหญ่ที่กรุงย่างกุ้งทุกวัน รายงานดังกล่าวควรระบุว่าเรือกำลังเดินทางไปยังพื้นที่ทำการประมง อยู่ในพื้นที่ทำการประมง หรือกำลังเดินทางออกจากพื้นที่ทำการประมงไปยังจุดตรวจที่เกาะสอง
34. ระยะเวลาเวลาทำการประมงใน 1 รอบ ที่ทำการตรวจก่อนเข้า (check in) และตรวจก่อนออก (check out) ไม่ควรเกิน 1 เดือน (30 วัน) ในเขตน่านน้ำประมงพม่า
35. จากจุดตรวจที่เกาะสอง สามารถเดินเรือผ่านไปยังแนวอาณาเขตได้โดยผ่านจุดตรวจที่อยู่ทางเหนือตรงไปเกาะ 5เกาะและเกาะ Cock burn
36. เรือประมงทุกลำต้องติดตั้งระบบสัญญาณ VHF ช่อง 6







ที่มาจาก . . .

Tuesday, December 12, 2006

แหล่งทำการประมงบริเวณเกาะกำ และเกาะพยาม




เกาะกำ

เกาะพยาม
การประมงบริเวณเกาะกำ และเกาะพยาม ที่จังหวัดระนอง มีอัตราการจับเฉลี่ย 67.71 กก./ชม. สัตว์น้ำที่สำคัญที่จับได้มีดังนี้1. ปลาดี ประกอบด้วย- ปลาหน้าดิน มีอัตราการจับเฉลี่ย 1.01 กก./ชม. คิดเป็นร้อยละ 1.49 ของอัตราการจับทั้งหมด ประกอบด้วยปลาปากคม และปลาทรายแดง เป็นองค์ประกอบหลัก- ปลาผิวน้ำ มีอัตราการจับเฉลี่ย 0.07 กก./ชม. คิดเป็นร้อยละ 0.11 ของอัตราการจับทั้งหมด ประกอบด้วย ปลาข้างเหลืองและ ปลาอินทรี เป็นองค์ประกอบหลัก2. สัตว์น้ำอื่นๆ ประกอบด้วย- กุ้ง มีอัตราการจับเฉลี่ย 3.91 กก./ชม. คิดเป็นร้อยละ 5.77 ของอัตราการจับทั้งหมด ประกอบด้วยกุ้งใหญ่ (Penaeus monodon , P semisulcatus ) และกลุ่มกุ้งตกกระ (Metapenaeopsis palmensis , M. stridulans ) เป็นองค์ประกอบหลัก- หมึก มีอัตราการจับเฉลี่ย 1.85 กก./ชม. คิดเป็นร้อยละ 2.73 ของอัตราการจับทั้งหมด ประกอบด้วยหมึกกล้วย หมึกสาย เป็นองค์ประกอบหลัก- ปู มีอัตราการจับเฉลี่ย 0.99 กก./ชม. คิดเป็นร้อยละ 1.47 ของอัตราการจับทั้งหมด ประกอบด้วยปูม้าและปูดาว เป็นองค์ประกอบหลัก3. ปลาเป็ด มีอัตราการจับเฉลี่ย 59.88 กก./ชม. คิดเป็นร้อยละ 88.43 ของอัตราการจับทั้งหมด ประกอบด้วยปลาสลิดทะเลและปลาวัวหนัง เป็นองค์ประกอบหลัก
เครื่องมือประมงที่ใช้
การทำการประมงโดยเครื่องมืออวนลากที่ขึ้นท่าที่ จ.ระนอง จากการสำรวจเรืออวนลาก 1 ประเภท คือ อวนลากขนาด 14 -18 เมตร การทำการประมงโดยเครื่องมืออวนลากขนาด 14 - 18 เมตร พบว่ามีเรือออกทำการประมงทั้งสิ้น 25 ลำ จากการเก็บตัวอย่างเรือจำนวน 5 เที่ยวเรือ มีวันออกทำการประมงเฉลี่ย 8.60 วัน/เที่ยว
อวนลาก
อวนลากเป็นเครื่องมือประมงที่ใช้อวนลักษณะคล้ายถุง จับสัตว์น้ำโดยลากจูงอวนให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้า สัตว์น้ำที่อยู่หน้าปากอวนจะถูกกวาดต้อนเข้าไปในถุงอวน การกางหรือถ่างปากอวนที่พบในพื้นที่ศึกษามี 4 วิธี คือ ใช้เรือ 2 ลำ (อวนลากคู่) ใช้แผ่นตะเฆ่ (อวนลากแผ่นตะเฆ่, อวนลากแคระ, อวนลากไต้หวัน, อวนลากกุ้ง) ใช้คาน (อวนลากคานถ่าง, อวนลากแขก, อวนลากข้าง) และใช้กำลังคน (อวนลากคน) อวนลากเป็นอันตรายต่อพืชและสัตว์หน้าดิน จับสัตว์น้ำโดยไม่แยกประเภท วัยและขนาด และทำลายเครื่องมือประมงของผู้อื่น นิยมใช้กันมากทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน โดยเฉพาะฝั่งอ่าวไทยที่มีท้องทะเลราบเรียบ
ที่มาจาก . . .