ลักษณะทางภูมิศาสตร์ เป็นดังนี้
- พื้นที่ชายฝั่งทะเลยาวทั้งหมด 740 กิโลเมตร
- เป็นที่ราบลาดชัน มีความลึกมากกว่าทางอ่าวไทย
- แม่น้ำที่ไหลเข้าสู่ทะเลอันดามันส่วนใหญ่เป็นแม่น้ำสายสั้นๆ
- ลักษณะของพื้นท้องทะเลส่วนใหญ่เป็นโคลนปนทราย
- เป็นลักษณะของไหล่ทวีปที่ค่อนข้างแคบ
- มีความลึกของน้ำมากและกระแสน้ำแรง บางแห่งห่างจากฝั่งประมาณ 30 กิโลเมตรก็จะมีความลึกของน้ำเกิน 100 เมตร
- ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้โดยตรง
- มีแหล่งปะการังมาก
- แหล่งทำการประมงด้านทะเลอันดามันตามการประกาศเขตเศรษฐกิจจำเพาะเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2524 ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 126,000 ตารางกิโลเมตร
- เขตการประมงแบ่งเป็น 2 เขต คือ
• เขต 6 ทะเลอันดามันตอนบน ประกอบด้วยทะเลที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต
• เขต 7 ทะเลอันดามันตอนล่าง ประกอบด้วยทะเลที่อยู่ในอาณาเขตจังหวัดกระบี่ ตรัง และสตูล
แหล่งประมงนอกน่านน้ำไทย แบ่งออกเป็น 5 เขต คือ
แหล่งประมงนอกน่านน้ำไทย แบ่งออกเป็น 5 เขต คือ
• แหล่งประมง A ครอบคลุมพื้นที่ทะเลจีนใต้ตอนบน
• แหล่งประมง B ครอบคลุมพื้นที่ทะเลจีนใต้ตอนล่าง
• แหล่งประมง C ครอบคลุมพื้นที่ทะเลอันดามันบริเวณช่องแคบมะละกา
• แหล่งประมง D ครอบคลุมพื้นที่ทะเลอันดามันด้านประเทศพม่า
• แหล่งประมง E ครอบคลุมพื้นที่ทะเลอันดามันด้านประเทศบังคลาเทศพื้นที่ทำการประมงนอกน่านน้ำในพื้นที่ประเทศที่มีการทำสัญญาทำการประมงร่วม ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา บรูไน มาเลเซีย อินโดนีเซีย บังคลาเทศ อินเดีย และซาอุดิอาระเบีย
ที่มาจาก . . .
No comments:
Post a Comment