ซินเจีย ยู่อี่ ซินนี้ ฮวดใช้ ขอให้ เฮง เฮง . . .

Friday, February 2, 2007

เงื่อนไขสัมปทานการประมง

รายละเอียด และ เงื่อนไขสัมปทานการประมง

1. ประเภทเรือประมง
1.1 เรืออวนล้อมปลาโอ ความยาวระหว่าง 25-30 เมตร (ความสามารถการจับ 100,000 – 200,000 กก.ต่อเที่ยว) จำนวน 20 ลำ
1.2 เรือประมงอื่น ๆ ได้แก่ เรือเบ็ด เรือปลาหมึก เบ็ดราวทูน่า จำนวน 30 ลำ
รวมเรือประมงในระยะแรก 50 ลำ
1.3 เรือประมงทุกลำต้องเป็นเรือจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย (เป็นเรือจดทะเบียนในเขตจังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ หรือเรือประมงจดทะเบียนจากที่อื่น แต่เข้ามาทำการประมงในเขตกลุ่มจังหวัดไม่น้อยกว่า
1 ปี )

2. พื้นที่การทำประมง รอบหมู่เกาะอันดามันนิโครบาร์ โดยกำหนดให้อยู่ในเขต 12 ไมล์จากชายฝั่ง

3. ระยะเวลาการทำสัมปทานการประมง 2 ปี

4. การตรวจสอบเรือประมง
4.1 จัดตั้งคณะกรรมการร่วมไทย – อินเดียในการตรวจสอบเรือ
4.2 สถานที่ตรวจสอบ (Check Point) ได้แก่ เมืองพอร์ตแบลร์ และจังหวัดภูเก็ต (ท่าเทียบเรือประมง
ภูเก็ต องค์การสะพานปลา)
4.3 หน่วยตรวจสอบเรือกำหนดให้มีเพียง 3 หน่วย
4.4 ระยะเวลาในการตรวจสอบต้องมีความรวดเร็ว และใช้เวลาที่สั้น

5. เรือประมงต้องแจ้งตำแหน่งเรือประมงที่ทำการประมงให้พอร์ตแบลร์ และจังหวัดภูเก็ตเป็นประจำทุกวัน

6. มีการอนุญาตให้นำสัตว์น้ำที่จับได้กลับประเทศไทย (จังหวัดภูเก็ต) และสามารถยินยอมให้มีการขนถ่ายสัตว์
น้ำกลางทะเลได้

7. อนุญาตให้มีการนำน้ำแข็ง หรือสิ่งของจำเป็น เช่น อาหารจากจังหวัดภูเก็ตเข้าไปได้

8. สัตว์น้ำที่นำออกให้มีการยกเว้นภาษีส่งออก

9. การกำหนดค่าใช้จ่ายสัมปทานการประมงต้องกำหนดค่าใช้จ่ายที่คงที่ และเป็นอัตราที่แน่นอน

10. ในเบื้องต้นขออนุญาตทำเรือประมงที่มีระบบห้องเย็นแช่แข็งในเรือเข้าไปรอรับ และขนส่งสัตว์น้ำได้ ส่วน
ตำแหน่งที่จอดเรือให้อยู่ที่พอร์ตแบลร์ หรือฝ่ายอินเดีย-ไทยจะตกลงกัน

11. อนุญาตให้มีลูกเรือฝ่ายอินเดียลงไปทำการประมงกับเรือสัมปทานได้ลำละ 5 คน หรือตามที่ฝ่ายพอร์ตแบลร์
กำหนด

12. จัดตั้งคณะกรรมการประมงร่วมสองฝ่าย

13. เงื่อนไขอื่น ๆ

ที่มาจาก. . .

http://www.anuphas.co.th/phuket/Inter/portbraa/aspect_portbraa/fishery2.doc

No comments: