เครื่องมือหรือเรือที่ใช้ : อวนลาก แผ่นตะเฆ่ ขนาดความยาว 14- 18 เมตร OBT 2 ND (ทำการประมงทั้งกลางวันและกลางคืน)
เรืออวนลาก
อัตราการจับ : เฉลี่ย 6.4 กก. /ชม.องค์ประกอบ สัตว์น้ำเศรษฐกิจ 91.2 % และปลาเป็ด 8.8 %(ข้อมูลจากเขตสตูล เดือน สิงหาคม 2549) สัตว์น้ำเศรษฐกิจ พบมากคือ กลุ่ม กุ้ง 81.0 % ชนิดที่พบมากคือ กุ้งโอคัก ( Metapenaeus lysianassa ) 69.9 % กลุ่มสัตว์น้ำที่พบรองลงมาได้แก่ กลุ่มปลาหมึก และกลุ่มปลาผิวน้ำ เท่ากับ5. 2% และ 2.5 % ตามลำดับ
ปลาเป็ด :ไม่ได้แยกองค์ประกอบชนิดเนื่องจากชาวประมงคัดทิ้งกลางทะเล
ปลาเป็ด
เกาะตารุเตา
แหล่งทำการประมง : บริเวณเกาะกลาง เกาะตะรุเตา
เครื่องมือหรือเรือที่ใช้ : อวนลากคู่ PTND และอวนรุน (Push Nets) (ทำการประมงทั้งกลางวันและกลางคืน)
เรืออวนรุน
อัตราการจับ : เฉลี่ย 233.4 กก. /ชม. องค์ประกอบ สัตว์น้ำเศรษฐกิจ 62.5 % และปลาเป็ด 37.5 % (ข้อมูลจากเขตสตูล เดือน สิงหาคม 2549)สัตว์น้ำเศรษฐกิจ พบมากคือ กลุ่มปลาผิวน้ำ 3 4.2 % ชนิดที่พบมาก คือ ปลาทูแขกครีบหูยาว 15.6 % กลุ่มสัตว์น้ำที่พบรองลงมาได้แก่ กลุ่มปลาหน้าดิน และกลุ่มหมึก เท่ากับ 21.0 % และ 6.2 % ตามลำดับ ปลาเป็ด พบปลาเป็ดที่เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจขนาดเล็ก 28.5 % และปลาเป็ดแท้ 9.0 % โดย สัตว์น้ำเศรษฐกิจขนาดเล็กที่พบมาก คือ ปลากะตัก เท่ากับ 8.6 % และปลาเป็ดแท้ที่พบมาก คือ ปลาแป้น ( Secutor ruconius ) เท่ากับ 4.4 %
ที่มาจาก . . .
No comments:
Post a Comment