เกาะกำ
เกาะพยาม
การประมงบริเวณเกาะกำ และเกาะพยาม ที่จังหวัดระนอง มีอัตราการจับเฉลี่ย 67.71 กก./ชม. สัตว์น้ำที่สำคัญที่จับได้มีดังนี้1. ปลาดี ประกอบด้วย- ปลาหน้าดิน มีอัตราการจับเฉลี่ย 1.01 กก./ชม. คิดเป็นร้อยละ 1.49 ของอัตราการจับทั้งหมด ประกอบด้วยปลาปากคม และปลาทรายแดง เป็นองค์ประกอบหลัก- ปลาผิวน้ำ มีอัตราการจับเฉลี่ย 0.07 กก./ชม. คิดเป็นร้อยละ 0.11 ของอัตราการจับทั้งหมด ประกอบด้วย ปลาข้างเหลืองและ ปลาอินทรี เป็นองค์ประกอบหลัก2. สัตว์น้ำอื่นๆ ประกอบด้วย- กุ้ง มีอัตราการจับเฉลี่ย 3.91 กก./ชม. คิดเป็นร้อยละ 5.77 ของอัตราการจับทั้งหมด ประกอบด้วยกุ้งใหญ่ (Penaeus monodon , P semisulcatus ) และกลุ่มกุ้งตกกระ (Metapenaeopsis palmensis , M. stridulans ) เป็นองค์ประกอบหลัก- หมึก มีอัตราการจับเฉลี่ย 1.85 กก./ชม. คิดเป็นร้อยละ 2.73 ของอัตราการจับทั้งหมด ประกอบด้วยหมึกกล้วย หมึกสาย เป็นองค์ประกอบหลัก- ปู มีอัตราการจับเฉลี่ย 0.99 กก./ชม. คิดเป็นร้อยละ 1.47 ของอัตราการจับทั้งหมด ประกอบด้วยปูม้าและปูดาว เป็นองค์ประกอบหลัก3. ปลาเป็ด มีอัตราการจับเฉลี่ย 59.88 กก./ชม. คิดเป็นร้อยละ 88.43 ของอัตราการจับทั้งหมด ประกอบด้วยปลาสลิดทะเลและปลาวัวหนัง เป็นองค์ประกอบหลัก
เครื่องมือประมงที่ใช้
การทำการประมงโดยเครื่องมืออวนลากที่ขึ้นท่าที่ จ.ระนอง จากการสำรวจเรืออวนลาก 1 ประเภท คือ อวนลากขนาด 14 -18 เมตร การทำการประมงโดยเครื่องมืออวนลากขนาด 14 - 18 เมตร พบว่ามีเรือออกทำการประมงทั้งสิ้น 25 ลำ จากการเก็บตัวอย่างเรือจำนวน 5 เที่ยวเรือ มีวันออกทำการประมงเฉลี่ย 8.60 วัน/เที่ยว
อวนลาก
อวนลากเป็นเครื่องมือประมงที่ใช้อวนลักษณะคล้ายถุง จับสัตว์น้ำโดยลากจูงอวนให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้า สัตว์น้ำที่อยู่หน้าปากอวนจะถูกกวาดต้อนเข้าไปในถุงอวน การกางหรือถ่างปากอวนที่พบในพื้นที่ศึกษามี 4 วิธี คือ ใช้เรือ 2 ลำ (อวนลากคู่) ใช้แผ่นตะเฆ่ (อวนลากแผ่นตะเฆ่, อวนลากแคระ, อวนลากไต้หวัน, อวนลากกุ้ง) ใช้คาน (อวนลากคานถ่าง, อวนลากแขก, อวนลากข้าง) และใช้กำลังคน (อวนลากคน) อวนลากเป็นอันตรายต่อพืชและสัตว์หน้าดิน จับสัตว์น้ำโดยไม่แยกประเภท วัยและขนาด และทำลายเครื่องมือประมงของผู้อื่น นิยมใช้กันมากทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน โดยเฉพาะฝั่งอ่าวไทยที่มีท้องทะเลราบเรียบ
เครื่องมือประมงที่ใช้
การทำการประมงโดยเครื่องมืออวนลากที่ขึ้นท่าที่ จ.ระนอง จากการสำรวจเรืออวนลาก 1 ประเภท คือ อวนลากขนาด 14 -18 เมตร การทำการประมงโดยเครื่องมืออวนลากขนาด 14 - 18 เมตร พบว่ามีเรือออกทำการประมงทั้งสิ้น 25 ลำ จากการเก็บตัวอย่างเรือจำนวน 5 เที่ยวเรือ มีวันออกทำการประมงเฉลี่ย 8.60 วัน/เที่ยว
อวนลาก
อวนลากเป็นเครื่องมือประมงที่ใช้อวนลักษณะคล้ายถุง จับสัตว์น้ำโดยลากจูงอวนให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้า สัตว์น้ำที่อยู่หน้าปากอวนจะถูกกวาดต้อนเข้าไปในถุงอวน การกางหรือถ่างปากอวนที่พบในพื้นที่ศึกษามี 4 วิธี คือ ใช้เรือ 2 ลำ (อวนลากคู่) ใช้แผ่นตะเฆ่ (อวนลากแผ่นตะเฆ่, อวนลากแคระ, อวนลากไต้หวัน, อวนลากกุ้ง) ใช้คาน (อวนลากคานถ่าง, อวนลากแขก, อวนลากข้าง) และใช้กำลังคน (อวนลากคน) อวนลากเป็นอันตรายต่อพืชและสัตว์หน้าดิน จับสัตว์น้ำโดยไม่แยกประเภท วัยและขนาด และทำลายเครื่องมือประมงของผู้อื่น นิยมใช้กันมากทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน โดยเฉพาะฝั่งอ่าวไทยที่มีท้องทะเลราบเรียบ
ที่มาจาก . . .
No comments:
Post a Comment