ซินเจีย ยู่อี่ ซินนี้ ฮวดใช้ ขอให้ เฮง เฮง . . .

Monday, February 19, 2007

ระเบียบการทำประมงในประเทศอินโดนีเซีย

อนุสนธิกรมประมงได้นำขณะผู้แทนไทยภาครัฐและเอกชนเดินทางไปประชุมร่วมกับ Mr. Hunsni Mangga Barani อธิบดีกรมประมงทะเลของประเทศดินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2545 ณ ประเทศอินโดนีเซีย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามเร่งรัดผลการพิจารณาของฝ่ายอินโดนีเซียและได้มีการลงนามในร่างความตกลงวิธีการปฏิบัติเพื่อนำเรือประมงไทยไปทำการประมงในน่านน้ำประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2545 โดยมีสาระสำคัญเกี่ยวกับเรือประมงไทยชุดใหม่ ดังนี้
1. ฝ่ายอินโดนีเซียจะให้สัมปทานทำการประมงแก่เรือประมงไทย เครื่องมือทำการประมงประเภทอวนลาก บริเวณทะเลจีนใต้ ขนาดเรือประมงที่อนุญาตได้แก่ เรือประมงไม้ขนาด 60-150 ตันกรอส หรือเรือประมงเหล็กขนาด 100-400 ตันกรอส รวมจำนวน 4000 ตันกรอส


2. ฝ่ายอินโดนีเซียยินดีเพิ่มพื้นที่ทำการประมงให้แก่เรือประมงไทยที่สมัครใจในบริเวณทะเลอาราฟูร่า โดยจะต้องเป็นเรือสัญชาติไทย จากเดิมที่กำหนดให้เฉพาะทะเลจีนใต้เท่านั้น





ที่มากจาก

Friday, February 16, 2007

องค์การสะพานปลา ( Fish Marketing Organization )






องค์การสะพานปลา ( Fish Marketing Organization )
ความเป็นมาของหน่วยงาน

ในอดีตการขนถ่ายและจำหน่ายสินค้าสัตว์น้ำเค็มของกรุงเทพฯ มีศูนย์รวมอยู่ที่ถนนทรงวาด อำเภอสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ ส่วนการจำหน่ายสัตว์น้ำจืดมีศูนย์รวมอยู่ที่หัวลำโพง ริมคลองผดุงกรุงเกษม สถานที่ทั้งสองแห่งดังกล่าวคับแคบและสกปรก ทำให้การดำเนินธุรกิจไปอย่างไม่สะดวก ในปี พ.ศ.2491 องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้ส่งคณะผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย Dr. K.F. VASS และ Dr. J. REUTER มาศึกษาภาวะการประมงของประเทศไทยตามคำร้องขอของรัฐบาล ซึ่งคณะผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวได้เสนอว่าระบบตลาดปลาที่มีอยู่เดิมยังขาดหลักการดำเนินงานทางวิชาการและขาดการสงเคราะห์ในด้านสังคมและเศรษฐกิจ สมควรที่รัฐบาลจะเข้าดำเนินการแก้ไขปรับปรุงในด้านต่างๆ 6 ประการ ดังนี้
• บริการเกี่ยวกับการขนส่งสัตว์น้ำไปสู่ตลาด (การขนส่ง)
• บริการเกี่ยวกับการเก็บสินค้าสัตว์น้ำที่สะพานปลา (ห้องเย็น)
• การจัดระบบเลหลังสินค้าสัตว์น้ำ (ตลาดกลางหรือสะพานปลา)
• จัดองค์การให้ชาวประมงกู้ยืมเงินทุนและออมสิน (สินเชื่อการเกษตร)
• บริการเกี่ยวกับการขายวัตถุดิบและอุปกรณ์การประมง (เครื่องมือและอุปกรณ์)
• บริการเกี่ยวกับการส่งเสริมการประมง แนะนำทางวิชาการและอื่นๆ ตลอดจนบริการเกี่ยวกับป่วยเจ็บ (วิชาการและสวัสดิการ)


จากข้อเสนอดังกล่าวข้างต้น เพื่อดำเนินงานตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจการประมงด้านการตลาด กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้จัดทำโครงการเสนอรัฐบาล เมื่อรัฐบาลรับหลักการและเห็นชอบให้ดำเนินการแล้ว กรมประมงจึงได้เริ่มงานในการก่อสร้างสะพานปลาของรัฐขึ้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลยานนาวา อำเภอยานนาวา กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2492 ต่อมาได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ.2496 เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2496 อันเป็นกฎหมายในการจัดตั้งองค์การสะพานปลา องค์การสะพานปลาจึงได้ถือกำเนิดตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา


การดำเนินงานขององค์การสะพานปลา


ได้กำหนดกิจกรรมหลักในการปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ ของการจัดตั้งตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ.2496 ดังนี้
1. การจัดบริการพื้นฐานทางการประมง องค์การสะพานปลาเป็นรัฐวิสาหกิจจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายเพื่อทำหน้าที่ให้บริการตลาดสินค้าสัตว์น้ำ โดยได้ก่อสร้างสะพานปลาและท่าเทียบเรือประมงที่ได้มาตรฐานเพื่อให้บริการสถานที่ขนถ่าย และเป็นตลาดกลางซื้อขายสัตว์น้ำพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำเนินงาน เช่น เครื่องชั่ง เครื่องมือขนถ่ายสัตว์น้ำ ภาชนะบรรจุก่อนการขนส่งและอื่น ๆ การดำเนินการต่าง ๆ ดังกล่าวเป็นการให้บริการพื้นฐานทางการประมง เพื่อสร้างระบบและความมีระเบียบในการซื้อขายสัตว์น้ำ รักษาระดับราคาที่เป็นธรรม ป้องกันการผูกขาด เป็นกิจการสาธารณะที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง ผลตอบแทนต่ำ ซึ่งรัฐพึงจัดดำเนินงาน
2. การพัฒนาการประมง การพัฒนาการประมงเป็นหน้าที่สำคัญที่องค์การสะพานปลาดำเนินงานเพื่อช่วย ชาวประมงสามารถพัฒนาความรู้ ความสามารถในการประกอบการให้สูงขึ้น ตลอดจนการแสวงหาวิธีการทำประมงรูปแบบใหม่เพื่อทดแทนการลดลงของทรัพยากรสัตว์น้ำของประเทศที่ถดถอยลง ดำเนินงานโดยการให้การศึกษา อบรม การสัมมนาและการดูงานแก่ชาวประมง ผู้นำชาวประมง ผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการประมง เพื่อเพิ่มพูนความรู้ในการทำประมงที่ทันสมัย เช่น การทำประมงอวนล้อมจับน้ำลึก และการทำประมงเบ็ดราวปลาทูน่า การดำเนินงานโครงการสินเชื่อสำหรับจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการทำประมง เพื่อช่วยเหลือชาวประมงที่ด้อยโอกาสในการดำเนินงานให้สามารถปรับปรุงการปฏิบัติงานให้ดีขึ้น
3. การส่งเสริมการประมงการส่งเสริมการประมง เป็นกิจกรรมที่องค์การสะพานปลาดำเนินงาน ตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ.2496 ซึ่งกำหนดให้องค์การสะพานปลาแบ่งส่วนรายได้ร้อยละ 25 จากค่าบริการที่เรียกเก็บจากผู้ประกอบกิจการแพปลา จัดตั้งเป็นเงินทุนส่งเสริมการประมง เพื่อนำมาช่วยเหลือชาวประมงในรูปการให้เปล่า เพื่อใช้ในกิจการสาธารณะประโยชน์แก่ชุมชนชาวประมง ให้กู้ยืมแก่สถาบันการประมง เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนดำเนินธุรกิจสร้างหรือขยายท่าเทียบเรือประมงขนาดเล็กในท้องถิ่น การให้เงินทุนช่วยเหลือการศึกษาบุตรชาวประมง การให้เงินทุนวิจัยทางการประมง แก่สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ตลอดจนการให้เงินช่วยเหลือครอบครัวแก่ชาวประมงที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุบัติภัยทางทะเลหรือถูกจับในต่างประเทศ
4. การดำเนินงานธุรกิจการประมง การดำเนินธุรกิจการประมงเป็นกิจกรรมสนับสนุนเพื่อช่วยเหลือการดำเนินงานแก่ชาวประมงและเพื่อเป็นการพัฒนาและปรับปรุงงานให้ดีขึ้น ประกอบด้วย การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม องค์การสะพานปลาได้ดำเนินการจำหน่ายน้ำมันราคาต่ำกว่าท้องตลาดแก่ชาวประมง โดยดำเนินงานผ่านกลุ่มเกษตรกรทำประมง สหกรณ์ประมง และตัวแทนจำหน่ายน้ำมันในหมู่บ้านชาวประมง ผลการดำเนินงานทำให้ชาวประมงขนาดเล็กและขนาดกลางได้รับประโยชน์จากการซื้อน้ำมันราคาถูก อันเป็นการลดต้นทุนการทำประมง การจำหน่ายน้ำแข็ง องค์การสะพานปลาได้ทำการผลิตน้ำแข็ง ณ ท่าเทียบเรือประมงนครศรีธรรมราชเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ชาวประมง และผู้ค้าสัตว์น้ำโดยไม่ต้องรอน้ำแข็งจากภายนอกท่าเทียบเรือประมง ซึ่งต้องเสียเวลาในการขนส่ง การจำหน่ายสัตว์น้ำ องค์การสะพานปลาได้เป็นตัวแทนจำหน่าย และรับซื้อสัตว์น้ำจากชาวประมง ที่ท่าเทียบเรือประมงนครศรีธรรมราช และท่าเทียบเรือประมงนราธิวาส เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการซื้อขายสัตว์น้ำในลักษณะตลาดกลางภายในท่าเทียบเรือประมง เป็นการรักษาระดับราคาสัตว์น้ำที่เป็นธรรมแกชาวประมงที่นำสัตว์น้ำมาจำหน่าย เป็นการกระตุ้นการแข่งขันการดำเนินธุรกิจแพปลา


หน่วยงานองค์การสะพานปลา

สะพานปลากรุงเทพ
http://www.fishmarket.co.th/web/bangkok.html
สะพานปลาสมุทรสาคร
http://www.fishmarket.co.th/web/sakorn.html
สะพานปลาสมุทรปราการ
http://www.fishmarket.co.th/web/pakarn.html
ท่าเทียบเรือสงขลา-1
http://www.fishmarket.co.th/web/skla.html
ท่าเทียบเรือสงขลา-2 (ท่าสะอ้าน)
http://www.fishmarket.co.th/web/tasaan.html
ท่าเทียบเรือระนอง
http://www.ranong.fishmarket.co.th/
ท่าเทียบเรือสุราษฎร์ธานี
http://www.fishmarket.co.th/web/surat.html
ท่าเทียบเรือประมงปัตตานี
http://www.fishmarket.co.th/web/pattanee.html
ท่าเทียบเรือประมงภูเก็ต
http://www.phuket.fishmarket.co.th/
ท่าเทียบเรือประมงหัวหิน
http://www.fishmarket.co.th/web/huahin.html
ท่าเทียบเรือประมงตราด
http://www.fishmarket.co.th/web/trad.html
ท่าเทียบเรือประมงสตูล
http://www.fishmarket.co.th/web/stoon.html
ท่าเทียบเรือประมงปราณบุรี
http://www.fishmarket.co.th/web/parn.html
ท่าเทียบเรือประมงชุมพร
http://www.fishmarket.co.th/web/chumporn.html
ท่าเทียบเรือประมงนครศรีธรรมราช
http://www.fishmarket.co.th/web/nkorn.html
ท่าเทียบเรือประมงหลังสวน
http://www.fishmarket.co.th/web/lungsuan.html
ท่าเทียบเรอประมงอ่างศิลา
http://www.fishmarket.co.th/web/sila.html
ท่าเทียบเรือประมงนราธิวาศ
http://www.fishmarket.co.th/web/nara.htm

Saturday, February 3, 2007

การพิจารณาความผิดด้านกฏหมายกับเรือประมงที่รุกล้ำน่านน้ำ


การพิจารณาความผิดด้านกฏหมายกับเรือประมงที่รุกล้ำน่านน้ำประเทศเพื่อนบ้าน

เนื้อหา. . .


กรณีที่เรือประมงไทย บางกลุ่มได้รุกล้ำ และลักลอบเข้าไปทำประมงในน่านน้ำประเทศเพื่อนบ้าน แล้วถูกเรือรบประเทศเพื่อนบ้านไล่จับกุม นั้น สำนักงานต่างประเทศ สำนักงานอัยการสูงสุด ได้ให้ข้อพิจารณาความผิดด้านกฎหมายประมง ว่าการกระทำดังกล่าว อาจเป็นความผิดตามกฎหมาย ดังนี้







พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ.2490


พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง


พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456

Friday, February 2, 2007

เงื่อนไขสัมปทานการประมง

รายละเอียด และ เงื่อนไขสัมปทานการประมง

1. ประเภทเรือประมง
1.1 เรืออวนล้อมปลาโอ ความยาวระหว่าง 25-30 เมตร (ความสามารถการจับ 100,000 – 200,000 กก.ต่อเที่ยว) จำนวน 20 ลำ
1.2 เรือประมงอื่น ๆ ได้แก่ เรือเบ็ด เรือปลาหมึก เบ็ดราวทูน่า จำนวน 30 ลำ
รวมเรือประมงในระยะแรก 50 ลำ
1.3 เรือประมงทุกลำต้องเป็นเรือจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย (เป็นเรือจดทะเบียนในเขตจังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ หรือเรือประมงจดทะเบียนจากที่อื่น แต่เข้ามาทำการประมงในเขตกลุ่มจังหวัดไม่น้อยกว่า
1 ปี )

2. พื้นที่การทำประมง รอบหมู่เกาะอันดามันนิโครบาร์ โดยกำหนดให้อยู่ในเขต 12 ไมล์จากชายฝั่ง

3. ระยะเวลาการทำสัมปทานการประมง 2 ปี

4. การตรวจสอบเรือประมง
4.1 จัดตั้งคณะกรรมการร่วมไทย – อินเดียในการตรวจสอบเรือ
4.2 สถานที่ตรวจสอบ (Check Point) ได้แก่ เมืองพอร์ตแบลร์ และจังหวัดภูเก็ต (ท่าเทียบเรือประมง
ภูเก็ต องค์การสะพานปลา)
4.3 หน่วยตรวจสอบเรือกำหนดให้มีเพียง 3 หน่วย
4.4 ระยะเวลาในการตรวจสอบต้องมีความรวดเร็ว และใช้เวลาที่สั้น

5. เรือประมงต้องแจ้งตำแหน่งเรือประมงที่ทำการประมงให้พอร์ตแบลร์ และจังหวัดภูเก็ตเป็นประจำทุกวัน

6. มีการอนุญาตให้นำสัตว์น้ำที่จับได้กลับประเทศไทย (จังหวัดภูเก็ต) และสามารถยินยอมให้มีการขนถ่ายสัตว์
น้ำกลางทะเลได้

7. อนุญาตให้มีการนำน้ำแข็ง หรือสิ่งของจำเป็น เช่น อาหารจากจังหวัดภูเก็ตเข้าไปได้

8. สัตว์น้ำที่นำออกให้มีการยกเว้นภาษีส่งออก

9. การกำหนดค่าใช้จ่ายสัมปทานการประมงต้องกำหนดค่าใช้จ่ายที่คงที่ และเป็นอัตราที่แน่นอน

10. ในเบื้องต้นขออนุญาตทำเรือประมงที่มีระบบห้องเย็นแช่แข็งในเรือเข้าไปรอรับ และขนส่งสัตว์น้ำได้ ส่วน
ตำแหน่งที่จอดเรือให้อยู่ที่พอร์ตแบลร์ หรือฝ่ายอินเดีย-ไทยจะตกลงกัน

11. อนุญาตให้มีลูกเรือฝ่ายอินเดียลงไปทำการประมงกับเรือสัมปทานได้ลำละ 5 คน หรือตามที่ฝ่ายพอร์ตแบลร์
กำหนด

12. จัดตั้งคณะกรรมการประมงร่วมสองฝ่าย

13. เงื่อนไขอื่น ๆ

ที่มาจาก. . .

http://www.anuphas.co.th/phuket/Inter/portbraa/aspect_portbraa/fishery2.doc

Wednesday, January 24, 2007

การจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลในจังหวัดสงขลา เพื่อพัฒนาแหล่งทำการประมงในทะเลสาบสงขลา

การจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลในจังหวัดสงขลา


ครั้งแรกเป็นงานทดลองของสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง โดยเลือกใช้วัสดุแท่งคอนกรีต ขนาด 0.8 x 0.8 x 0.8 ม.3 จัดวางบนพื้นทรายที่ระยะห่างฝั่ง 0.4 กิโลเมตร และ 3 กิโลเมตร ส่วนการจัดสร้างเพื่อใช้ประโยชน์โดยตรง เริ่มจัดสร้างภายใต้โครงการพัฒนาประมงทะเลชายฝั่งพื้นบ้านปี 2530 งบประมาณ 0.5 ล้านบาท ที่บ้านมาบบัว อำเภอระโนด จัดสร้างด้วยแท่งคอนกรีตแบบประกอบเข้าชุด ขนาด 0.8 x 1.0 x 1.0 ม.3 จำนวน 850 ชุด ในปีต่อมาจึงมีการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลขนาดใหญ่เป็นครั้งแรกในบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ด้วยเงินงบประมาณ 15 ล้านบาท จัดสร้างด้วยวัสดุทั้งขนาด 1.0 x 1.0 x 1.0 ม.3 และ 2.0 x 2.0 x 2.0 ม.3 การจัดสร้างในครั้งนั้นใช้เวลานานถึง 4 ปี การจัดสร้างเสร็จสิ้นสมบูรณ์ในปี พ.ศ.2534 หลังจากนั้นการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลว่างเว้นไปนานจนมีการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลขนาดเล็กอีกในปี พ.ศ. 2538 และ 2539 ด้วยงบประมาณแห่งละ 1.5 ล้านบาท จำนวน 5 แห่ง ในเขตอำเภอสทิงพระ
ปี พ.ศ. 2540 มีการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลภายใต้โครงการฟื้นฟูทะเลไทย ด้วยเงินงบประมาณแห่งละ 2 ล้านบาท ส่วนปี 2541 ได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้นเป็นแห่งละ 3 ล้านบาท การจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลภายใต้โครงการนี้ใช้วัสดุแท่งคอนกรีต ขนาด 1.5 x 1.5 x 1.5 ม.3 การจัดสร้างเริ่มจัดสร้างในบริเวณที่ไกลฝั่ง (6.5 กิโลเมตร) และน้ำลึกมากขึ้น (12-13เมตร)
การจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลขนาดใหญ่ครั้งที่ 2 ได้รับงบประมาณ 20 ล้านบาท ในปี 2542 ครอบคลุมพื้นที่ 51.6 ตารางกิโลเมตร บริเวณอำเภอระโนด สทิงพระ และ สิงหนคร การจัดสร้างห่างฝั่งมากขึ้นถึง 9 กิโลเมตร แต่ความลึกน้ำใกล้เคียงกับโครงการอื่นๆ ที่จัดสร้างมาแล้ว (6-12.5เมตร) ต่อมาในปี 2543 เป็นปีแรกที่มีการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลในเขต อำเภอเมือง และ อำเภอจะนะ ส่วนปี 2544 เป็นปีแรกที่มีการจัดสร้างในเขต อำเภอเทพา ด้วยงบประมาณแห่งละ 3 ล้านบาท จัดสร้างด้วยวัสดุแท่งคอนกรีตขนาด 1.5 x 1.5 x 1.5 ม.3 พื้นที่จัดสร้างแห่งละ 1 ตารางกิโลเมตร การจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลบริเวณจังหวัดสงขลาระหว่างปี 2526-2544 รวม 19 แห่ง เป็นเงินงบประมาณ 69.5 ล้านบาท




รูปการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล















ที่มาจาก. . .
ตารางพิกัดรายละเอียดของแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลในจังหวัดสงขลา. . .

การจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล เพื่อพัฒนาแหล่งพื้นที่ทำการประมง

การจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล เพื่อเพิ่มและพัฒนาแหล่งการทำประมง


เป็นการเพิ่มผลผลิตทางการประมงให้สูงขึ้น เพราะจะดึงดูดสัตว์น้ำให้เข้ามาอยู่อาศัยมากขึ้น ในไม่ช้าจะมีสัตว์น้ำหลากหลายชนิดเข้ามาหลบภัย อยู่อาศัย วางไข่ แพร่พันธุ์ ทำให้พื้นท้องทะเลที่ปราศจากแนวกองหินใต้น้ำ หรือแนวปะการังธรรมชาติ กลายเป็นแหล่งที่มีสัตว์น้ำชุกชุม เกิดเป็นระบบนิเวศที่ซับซ้อนและสมบูรณ์อย่างต่อเนื่อง เป็นประโยชน์ต่อชาวประมง และการออกแบบการจัดวางแท่งวัสดุเป็นแถว หรือเป็นกรอบล้อมรอบพื้นที่อนุรักษ์ยังสามารถเป็นแนวป้องกันการทำการประมงผิดกฎหมาย จากเครื่องมือประมงพาณิชย์ เช่น อวนลาก อวนรุนอย่างไรก็ตามในเขต 3,000 เมตร จากฝั่งได้




แหล่งอาศัยสัตว์ทะเล หรือแนวหินเทียม หรือปะการังเทียม คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นในรูปแบบต่างๆ อย่างมีแบบแผน เพื่อดัดแปลงสภาพพื้นท้องทะเลที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ โดยการจัดสร้างเลียนแบบบริเวณกองหินใต้น้ำ และซากเรืออับปาง เป็นต้น ด้วยการนำวัสดุที่แข็งแรง ทนทาน มีน้ำหนักมาก สามารถต้านทานกระแสน้ำได้ดี และราคาไม่แพง ไปวางรวมกลุ่มกันในบริเวณต่างๆ ที่เหมาะสม ตามแนวชายฝั่งเพื่อเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำ
ภาพแหล่งอาศัยของสัตว์





ภาพแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำที่จัดสร้างขึ้นใหม่






อ่านต่อได้ที่นี่ . . .
http://thaidatanetwork.thaidatanetwork.net/~smdec/main/index2.php?option=content&task=view&id=35&pop=1&page=0

Saturday, January 6, 2007

การยื่นคำขอรับอาชญาบัตรทำการประมงนอกน่านน้ำไทย

ระเบียบกรมประมง ว่าด้วยการยื่นคำขอรับอาชญาบัตรทำการประมงนอกน่านน้ำไทย พ.ศ.2532

อาศัยอำนาจตามความในประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง เงื่อนไขรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ.2490 ว่าด้วยการทำการประมงนอกน่านน้ำไทย ( ฉบับที่ 2 ) พ.ศ.2531 ประกอบกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2532 ข้อ 9 กรมประมงจึงออกระเบียบกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาปฏิบัติราชการสำหรับการขอรับอาชญาบัตรทำการประมงนอกน่านน้ำไทยไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า " ระเบียบกรมประมงว่าด้วยการยื่นคำขอรับอาชญาบัตรทำการประมงนอกน่านน้ำไทย พ.ศ.2532 "
ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2532 เป็นต้นไป
ข้อ 3 ให้ยกเลิกระเบียบกรมประมงว่าด้วยการขอรับอาชญาบัตรทำการประมงนอกน่านน้ำไทย พ.ศ.2531
ข้อ 4 อาชญาบัตรทำการประมงนอกน่านน้ำไทย หมายความว่า ใบอนุญาตซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ออกให้แก่ผู้รับอนุญาตเพื่อใช้เครื่องมือทำการประมงนอกน่านน้ำไทย ซึ่งอยู่ในบริเวณน่านน้ำตามข้อตกลงโดยชอบด้วยกฎหมาย ธรรมเนียมประเพณี สนธิสัญญา หรือโดยประการใด ระหว่างรัฐบาลหรือเอกชนไทย กับรัฐบาลหรือเอกชนของประเทศอื่น
ข้อ 5 ผู้ยื่นคำขอต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
( 1 ) ต้องมีสัญชาติไทยและมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย
( 2 ) ต้องเป็นเจ้าของเรือประมง และเรือประมงดังกล่าวต้องจดทะเบียนในประเทศไทย
ข้อ 6 ผู้ยื่นคำขอต้องแนบหลักฐาน ดังนี้
( 1 ) อาชญาบัตรฉบับหลังสุดสำหรับเครื่องมือนั้น ( ถ้ามี )
( 2 ) สำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนาบัตรประชาชน
( 3 ) สำเนาทะเบียนเรือไทย
( 4 ) ผู้ยื่นคำขอแทนเจ้าของเรือ จะต้องมีหนังสือมอบอำนาจ
( 5 ) ในกรณีที่เป็นนิติบุคคลต้องแนบสำเนาใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลและหลักฐานแสดงว่า มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการประมง สำหรับผู้ยื่นคำขอแทนนิติบุคคล จะต้องมีใบมอบอำนาจจากนิติบุคคลนั้น
( 6 ) หนังสือสัญญาหรือข้อตกลงให้ทำการประมงร่วมกับประเทศนั้น ๆ
( 7 ) ในกรณีเจ้าของเรือเข้าร่วมทำการประมงกับบุคคลหรือนิติบุคคลผู้ซึ่งได้รับสัมปทานทำการประมงร่วมกับประเทศนั้น ๆ จะต้องมีหนังสือรับรองจากบุคคลหรือนิติบุคคลผู้ได้รับสัมปทานเป็นหนังสือด้วย
( 8 ) ถ้าผู้ยื่นคำขอประสงค์จะให้บุคคลใดในครอบครัวหรือลูกจ้างมีสิทธิใช้เครื่องมือนั้นด้วยก็ให้ระบุไว้ในคำขอ
ข้อ 7 ให้ผู้ประสงค์จะขออาชญาบัตรเพื่อใช้เครื่องมือทำการประมงนอกน่านน้ำไทย ยื่นคำขอรับอาชญาบัตรต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ฝ่ายควบคุมการประมง กองคุ้มครองและส่งเสริมกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพ ฯ 10200
ข้อ 8 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รับคำขอและดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ดังนี้
( 1 ) รับคำขอ และลงทะเบียนรับ
( 2 ) ตรวจสอบคำขอและเอกสาร ถ้าไม่ถูกต้องตามระเบียบนี้ ให้คืนคำขอและเอกสารแล้วแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบ ภายใน 1 วัน เพื่อแก้ไขต่อไป
( 3 ) เมื่อเห็นว่าคำขอและเอกสารถูกต้องให้พนักงานเจ้าหน้าที่เขียนอาญาบัตรทำการประมงนอกน่านน้ำไทย ( แบบ 002 ) เสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น เพื่อให้อธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายแล้วแต่กรณี เป็นผู้ลงนามอนุญาต ให้แล้วเสร็จและมอบอาชญาบัตรให้แก่ผู้ยื่นคำขอโดยเร็ว แต่อย่างช้าไม่เกิน 5 วันทำการ
( 4 ) ในกรณีที่มีเหตุสงสัยจำเป็นจะต้องตรวจสอบเรือประมง และหรือเครื่องมือทำการประมงประกอบคำขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบเรือประมงและเครื่องมือให้แล้วเสร็จ นับแต่วันที่ได้ตกลงนัดตรวจแต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 10 วันทำการ หากตรวจสอบแล้วและเห็นสมควรอนุญาตให้ดำเนินการตาม ( 7 )
ข้อ 9 เมื่ออธิบดีหรือผู้ที่ที่อธิบดีมอบหมายลงนามในใบอาชญาบัตรแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บเงินอากรตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง
ข้อ 10 ให้ผู้อำนวยการกองคุ้มครองและส่งเสริมเป็นผู้รักษาการ ตามระเบียบนี้


ประกาศ ณ วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2532